fbpx
WeLoveMed.com

GLD ความรับผิดชอบของผู้นำองค์กร


มาตรฐาน GLD.3
มีการระบุตัวผู้นำขององค์กร ซึ่งร่วมกันทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย จัดทำแผนและนโยบายเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล

เจตนาของ GLD.3
ผู้นำขององค์กรมีที่มาจากหลายแหล่ง | ผู้กำกับดูแลกิจการแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดหรือผู้อำนวยการ | ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้อำนวยการอาจจะแต่งตั้งผู้บริหารอื่นๆ | ผู้นำอาจจะมีชื่อตำแหน่งที่เป็นทางการ เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ หรือผู้อำนวยการฝ่ายพยาบาล อาจเป็นผู้นำของแผนกหรือหน่วยบริการที่เกี่ยวกับคลินิกหรือไม่เกี่ยวกับคลินิก หรือเป็นที่ยอมรับอย่างไม่เป็นทางการด้วยเหตุของความอาวุโส ชื่อเสียง หรือผลงานที่ทำให้องค์กร | เป็นสิ่งสำคัญที่จะรับรู้คุณค่าผู้นำทั้งหมดขององค์กรและนำเข้าร่วมในกระบวนการของการกำหนดเป้าหมายขององค์กร | จากเป้าหมายดังกล่าว ผู้นำทำงานร่วมกันเพื่อจัดทำแผน นโยบาย และการบริการที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย | เมื่อมีการกำหนดพันธกิจและกรอบนโยบายโดยเจ้าของหรือหน่วยงานนอกองค์กรที่เป็นผู้กำกับดูแลกิจการแล้ว ผู้นำทำงานร่วมกันเพื่อนำเป้าหมายและนโยบายไปปฏิบัติ

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.3
Ο 1. มีการระบุตัวผู้บริหารสูงสุดและผู้นำขององค์กร ตำแหน่งและชื่อ และความรับผิดชอบโดยรวม ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
Ο 2. ผู้นำร่วมกันทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายขององค์กร
Ο 3. ผู้นำร่วมกันทำหน้าที่กำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามเป้าหมาย
Ο 4. ผู้นำสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติ


มาตรฐาน GLD.3.1
ผู้นำระบุและวางแผนสำหรับประเภทบริการทางคลินิกที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่องค์กรให้บริการ ℗

เจตนาของ GLD.3.1
มีการวางแผนและออกแบบบริการการดูแลผู้ปวยเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรผู้ป่วย | แผนขององค์กรระบุการดูแลและบริการที่จะจัดขึ้นโดยสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร | ผู้นำของแผนกและงานบริการทางคลินิกต่างๆ ขององค์กรพิจารณาว่าบริการตรวจวินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูสภาพ และบริการอื่นๆ ใดบ้างที่จำเป็นสำหรับชุมชน | ผู้นำพิจารณาของเขตและความสามารถของบริการต่างๆ ที่องค์กรจะจัดให้โดยตรงหรือโดยอ้อม | เมื่อมีการใช้เป้าหมายขององค์กร ผู้นำวางแผนร่วมกับชุมชน โรงพยาบาลท้องถิ่น และอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการดูแลสุขภาพในชุมชน | บริการที่วางแผนไว้สะท้อนทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กร และมุมมองของผู้ป่วยที่องค์กรให้การดูแล

สถานพยาบาลกำหนดชุมชนและกลุ่มผู้ป่วยขององค์กร และวางแผนการสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มสำคัญเหล่านั้น | การสื่อสารอาจจะเป็นการสื่อสารโดยตรงกับบุคคลหรือผ่านสื่อสารมวลชน และผ่านหน่วยงานในชุมชนหรือองค์กรที่สาม | ประเภทของสารสนเทศที่สื่อสารประกอบด้วย

– สารสนเทศเกี่ยวกับบริการ ชั่วโมงการปฏิบัติงาน และกระบวนการเข้ารับการดูแล และ
– สารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพของบริการ สื่อสารให้แก่สาธารณะและหน่วยงานที่ส่งต่อ (referral sources)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.3.1
Ο 1. ผู้นำองค์กรกำหนดและวางแผนกับผู้นำแผนก/หน่วยบริการเกี่ยวกับประเภทของการดูแลและการบริการซึ่งจัดโดยองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรและความต้องการของผู้ป่วย (ดูที่ ACC.1, ME 1)
Ο 2. ผู้นำสื่อสารกับชุมชนที่ให้บริการเพื่อช่วยให้ชุมชนเข้าถึงการดูแล และเข้าถึงสารสนเทศเกี่ยวกับบริการดูแลผู้ป่วยขององค์กร
Ο 3. ผู้นำให้ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพการบริการกับกลุ่มสำคัญ (ดูที่ QPS.6, ME 4)
Ο 4. ผู้นำอธิบายและบันทึกการดูแลและบริการที่จัดให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร


มาตรฐาน GLD.3.2
ผู้นำองค์กรมั่นใจว่ามีการสื่อสารที่ได้ผลทั่วทั้งองค์กร ℗

เจตนาของ GLD.3.2
การสื่อสารที่ได้ผลภายในองค์กรเป็นความรับผิดชอบของผู้นำ | ดังนั้น ผู้นำองค์กรต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ภายในและระหว่างกลุ่มวิชาชีพ หน่วยงานตามโครงสร้าง เช่น แผนก ระหว่างกลุ่มวิชาชีพและมิใช่วิชาชีพ ระหว่างวิชาชีพสุขภาพกับผู้บริหาร ระหว่างวิชาชีพสุขภาพกับครอบครัวและกับองค์กรภายนอก เป็นต้น | ผู้นำองค์กรไม่เพียงกำหนดข้อพิจารณาของการสื่อสารที่ได้ผลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นแบบอย่างในการสื่อสารเป้าหมาย กลุยทธ์ แผน และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ขององค์กร | ผู้นำใส่ใจกับความถูกต้องและความทันกาล (timeliness) ของสารสนเทศในองค์กร

ผู้นำสร้างวัฒนธรรมที่เน้นการประสานงานและการสื่อสารเพื่อประสานและบูรณาการการดูแลผู้ป่วย | ผู้นำพัฒนาวิธีการเพื่อส่งเสริมการสื่อสารระหว่างงานบริการและบุคลากรแต่ละคน ทั้งที่เป็นทางการ (เช่น การตั้งคณะกรรมการ ทีมงานร่วม) และที่ไม่เป็นทางการ (เช่น จดหมายข่าว โปสเตอร์) | การประสานงานบริการทางคลินิกมาจากความเข้าใจในเป้าหมายและบริการของแต่ละแผนก และความร่วมมือในการจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ใช้ร่วมกัน

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.3.2
Ο 1. ผู้นำสร้างความมั่นใจว่ามีกระบวนการพร้อมปฏิบัติสำหรับการสื่อสารสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งองค์กรในลักษณะที่ทันเวลา
Ο 2. ผู้นำสร้างความมั่นใจในการสื่อสารที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพในระหว่างแผนก งานบริการ และบุคลากรของสายงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก
Ο 3. ผู้นำสื่อสารวิสัยทัศน์ เป้าหมายขององค์กร นโยบาย และแผนที่เหมาะสมแก่บุคลากรทุกคน


มาตรฐาน GLD.3.3
ผู้นำองค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีโปรแกรมที่เป็นแนวทางเดียวกันสำหรับการสรรหา คงไว้ พัฒนาและให้การศึกษาต่อเนื่องสำหรับบุคลากรทุกคน

เจตนาของ GLD.3.3
ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยขององค์กรมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการจูงใจและคงไว้ซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ | ผู้นำตระหนักว่าการคงไว้ซึ่งบุคลากรก่อให้เกิดประโยชน์ระยะยาวมากกว่าการสรรหาบุคลากร | การคงอยู่ของบุคลากรจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้นำสนับสนุนความก้าวหน้าของบุคลากรผ่านการศึกษาต่อเนื่อง | ดังนั้น ผู้นำร่วมกันวางแผนโปรแกรมและกระบวนการเกี่ยวกับการสรรหา การคงไว้ การพัฒนาและการศึกษาต่อเนื่องในแต่ละกลุ่มของบุคลากรที่เป็นแนวทางเดียวกัน พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติ | โปรแกรมสรรหาบุคลากรขององค์กรพิจารณาแนวทางที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น แนวทางขององค์การอนามัยโลก สภาการพยาบาลสากล (International Council of Nurses) สมาคมแพทย์แห่งโลก (World Medical Association)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.3.3
Ο 1. มีกระบวนการที่วางแผนไว้สำหรับการสรรหาบุคลากร และนำไปปฏิบัติ
Ο 2. มีกระบวนการที่วางแผนไว้สำหรับการรักษาบุคลากร และนำไปปฏิบัติ
Ο 3. มีกระบวนการที่วางแผนไว้สำหรับการพัฒนาบุคลากรและให้การศึกษาต่อเนื่อง และนำไปปฏิบัติ
Ο 4. การวางแผนเกิดจากความร่วมมือของทุกแผนกและงานบริการในองค์กร


GLD – ผู้กำกับดูแลกิจการขององค์กร | ความรับผิดชอบของผู้บริหาร | ความรับผิดชอบของผู้นำองค์กร | การบริหารองค์กรสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย | การบริหารองค์กรสำหรับสัญญาจ้าง | การบริหารองค์กรสำหรับการจัดทรัพยากร | การจัดการและความรับผิดชอบของบุคลากรทางคลินิก | ทิศทางของแผนกและหน่วยบริการในองค์กร | จริยธรรมองค์กรและคลินิก | การศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพและมนุษย์ | การวิจัยในสาขาวิชาเกี่ยวกับมนุษย์