fbpx
WeLoveMed.com

GLD ทิศทางของแผนกและหน่วยบริการในองค์กร


มาตรฐาน GLD.9
มีผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมหนึ่งคนหรือมากกว่าทำหน้าที่บริหารแต่ละแผนกหรืองานบริการในองค์กร ℗

เจตนาของ GLD.9
การดูแลทางคลินิก ผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย และการบริหารจัดการโดยรวมของสถานพยาบาล จะดีได้ด้วยกิจกรรมทางคลินิกและการบริหารจัดการของแต่ละแผนกหรืองานบริการ | ขีดสมรรถนะที่ดีของแผนกหรืองานบริการต้องอาศัยการนำที่ชัดเจนจากผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม | การนำในแผนกหรืองานบริการขนาดใหญ่อาจจะมีการแยกตามบทบาทย่อย | ในกรณีดังกล่าว มีการกำหนดหน้าที่ของแต่ละบทบาทไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้นำของแต่ละแผนกสื่อสารความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นๆ ต่อผู้บริหารระดับสูงขององค์กร | การสื่อสารนี้จะทำให้มั่นใจว่ามีบุคลากร พื้นที่ใช้สอย เครื่องมืออุปกรณ์ และทรัพยากรอื่นๆ พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยตลอดเวลา | อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผู้บริหารแผนกจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นๆ ความต้องการอาจจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ได้รับทรัพยากรทั้งหมด | ดังนั้น ผู้บริหารแผนกต้องมีกระบวนการที่จะตอบสนองต่อการขาดแคลนทรัพยากร เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลสำหรับผู้ป่วยทุกราย

ผู้บริหารแผนกพิจารณาบริการที่จัดและวางแผนไว้โดยแผนกหรืองานบริการ รวมถึงการศึกษา ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่บุคลากรวิชาชีพของแผนกจำเป็นต้องมีเพื่อให้บริการเหล่านั้น | ผู้บริหารแผนกจัดทำเกณฑ์ที่สะท้อนถึงข้อพิจารณานี้แล้วเลือกบุคลากร | ผู้บริหารแผนกอาจจะทำงานร่วมกับแผนกทรัพยากรมนุษย์หรือแผนกอื่นๆ ในกระบวนการเลือกสรรตามข้อเสนอของผู้บริหารแผนก

ผู้บริหารแผนกสร้างความมั่นใจว่าบุคลากรทุกคนในแผนกหรืองานบริการเข้าใจหน้าที่รับผิดชอบของตน และจัดให้มีการปฐมนิเทศและฝึกอบรมแก่บุคลากรใหม่ | การปฐมนิเทศครอบคลุมเป้าหมายขององค์กร เป้าหมายของแผนกหรืองานบริการ ขอบเขตการให้บริการ นโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับบริการที่จัด | ตัวอย่างเช่น บุคลากรทุกคนเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในองค์กร และในแผนกหรืองานบริการของตน | บุคลากรได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมเมื่อมีการนำนโยบายและระเบียบปฏิบัติใหม่หรือที่มีการทบทวนมาสู่การปฏิบัติ (ดูที่ ACC.3, ME 1; AOP.5.1; AOP.6.1; AOP.5.11, ME 1; ASC.2; MMU.1; QPS.1; และ PCI.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.9
Ο 1. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการจัดทำเกณฑ์การศึกษา ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่ต้องการสำหรับบุคลากรวิชาชีพของแผนก (ดูที่ AOP.5.11, ME 1 และ COP.8.1)
Ο 2. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย เครื่องมืออุปกรณ์ จำนวนและคุณสมบัติของบุคลากร และทรัพยากรพิเศษอื่นๆ ที่จำเป็นในการให้บริการ และมีกระบวนการตอบสนองเมื่อมีการขาดแคลนทรัพยากร (ดูที่ AOP.6.2, ME 5; COP.3.2; COP.8; และ SQE.6)
Ο 3. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการจัดทำเกณฑ์ในการเลือกหรือแนะนำบุคลากรวิชาชีพที่ต้องการสำหรับบุคลากรวิชาชีพของแผนก
Ο 4. บริหารแผนกจัดให้มีโปรแกรมปฐมนิเทศและฝึกอบรมหน้าที่ของบุคลากรทุกคนและความรับผิดชอบในแผนก/หน่วยบริการที่ได้รับมอบหมายแก่บุคลากรของแผนก (ดูที่ AOP.5.3, ME 4; AOP.6.3, ME 4; และ SQE.7)


มาตรฐาน GLD.10
ผู้บริหารของแต่ละแผนกทางคลินิกระบุบริการที่แผนกจะจัดให้เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการประสานงานและร่วมกันบริการภายในแผนกหรืองานบริการ และระหว่างแผนกหรืองานบริการอื่น ℗

เจตนาของ GLD.10
ผู้บริหารแผนกทางคลินิกขององค์กรร่วมมือกันกำหนดรูปแบบและเนื้อหาของเอกสารวางแผนเฉพาะของแต่ละแผนกที่เป็นแนวทางเดียวกัน | โดยทั่วไป เอกสารที่แต่ละแผนกทางคลินิกจัดเตรียมจะกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่วางแผนสำหรับอนาคต | นโยบายและระเบียบปฏิบัติของแผนกสะท้อนเป้าหมายและบริการของแผนก รวมถึงความรู้ ทักษะ และความพร้อมของบุคลากรที่ต้องมีเพื่อประเมินและตอบสนองความต้องการการดูแลของผู้ป่วย

บริการทางคลินิกที่จัดให้ผู้ป่วยได้รับการประสานความร่วมมือและร่วมกันภายในแต่ละแผนกบริการ เช่น การร่วมกันบริการทางการแพทย์และการพยาบาล | เช่นเดียวกัน แต่ละแผนกหรืองานบริการยังประสานความร่วมมือและร่วมกันบริการของตนกับแผนกหรืองานบริการอื่น | มีการหลีกเลี่ยงหรือขจัดความซํ้าซ้อนที่ไม่จำเป็นเพื่อประหยัดทรัพยากรขององค์กร

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.10
Ο 1. ผู้บริหารแผนกหรือหน่วยบริการเลือกและใช้รูปแบบและเนื้อหาของเอกสารการวางแผนที่เป็นแนวทางเดียวกัน
Ο 2. เอกสารของแต่ละแผนกหรือหน่วยบริการ ระบุบริการที่แต่ละแผนกหรืองานบริการจัดอยู่ในปัจจุบัน และวางแผนจะจัดในอนาคต
Ο 3. นโยบายและระเบียบปฏิบัติของแต่ละแผนกหรือหน่วยบริการชี้นำการจัดบริการที่ระบุไว้
Ο 4. นโยบายและระเบียบปฏิบัติของแต่ละแผนกหรืองานบริการระบุความรู้และทักษะของบุคลากรที่จำเป็นเพื่อการประเมินและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย
Ο 5. มีการประสานความร่วมมือและรวมกันของบริการภายในแต่ละแผนกหรืองานบริการ


มาตรฐาน GLD.11
ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยการจัดลำดับความสำคัญในระดับองค์กรและทำการติดตามและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเฉพาะแผนก/หน่วยบริการ

เจตนาของ GLD.11
ผู้นำแผนก/หน่วยบริการกำหนดให้บุคลากรเข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในระดับโรงพยาบาล (ดูที่ GLD.5) และระบุกิจกรรมด้านคลินิกหรือด้านบริหารเฉพาะแผนกหรือหน่วยบริการ | ตัวอย่างเช่น แผนกหรืองานบริการด้านคลินิกมีส่วนร่วมที่จะปรับปรุงการสื่อสารในระดับองค์กรและอาจติดตามและลดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการภายใน เช่น การสั่งซื้อชุดทดสอบวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะเดียวกัน | ในทำนองเดียวกัน แผนกบริหารจัดการอาจเกี่ยวข้องกับโครงการระบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงการส่งต่อการสื่อสารและอาจจะติดตามและปรับปรุงความถูกต้องของค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย

ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการทางคลินิกพิจารณาถึง ตัววัดใน Joint Commission International Library of Measures ที่ใช้บังคับกับการให้บริการโดยแผนก/หน่วยบริการ

ดังนั้น ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการดำเนินการคัดเลือกและตรวจสอบตัวชี้วัดโดยเฉพาะของแผนกหรือหน่วยบริการ ดังต่อไปนี้

  • ลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดและการพัฒนาในระดับองค์กรกำหนดโดยผู้บริหารองค์กรที่เกี่ยวข้องกับแผนกหรือหน่วยบริการโดยเฉพาะ
  • ตัวชี้วัดเกี่ยวข้องกับลำดับความสำคัญโดยเฉพาะของแผนก/หน่วยบริการเพื่อลดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาความปอลดภัยของกระบวนการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย หรือปรับปรุงประสิทธิภาพ

การเลือกตัวชี้วัดขึ้นอยู่กับกิจกรรมและกระบวนการที่ต้องมีการปรับปรุงในแผนกหรือหน่วยบริการ | ควรกำหนดเป้าหมายสำหรับแต่ละตัวชี้วัด | เป็นที่คาดว่าการวัดผลในเบื้องต้นจะไม่บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาได้นำไปปฏิบัติ ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการควรคาดหวังที่จะเห็นการพัฒนาไปสู่เป้าหมาย | เลือกใช้ตัวชี้วัดใหม่นี้ เมื่อบรรลุเป้าหมายและคงไว้อย่างน้อย 4 ช่วงเวลาในการวัด

ผู้บริหารของแผนกหรือหน่วยบริการทางคลินิกมีหน้าที่สร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมตัวชี้วัดมีการประเมินผลพนักงานเช่นเดียวกับกระบวนการดูแล | ดังนั้น ตัวชี้วัดรวมถึงช่วงเวลาและบริการทั้งหมดที่มี | ส่งผลให้ข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญต่อความพยายามในการพัฒนาและสำคัญต่อโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยขององค์กร (ดูที่ QPS.1, ME 3; QPS.2 และ PCI.10, ME 1)

หมายเหตุ: สำหรับบางแผนก เช่น แผนกควบคุมการติดเชื้อ การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก รังสีวิทยา และห้องปฏิบัติการทางคลินิก มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่องหรือโปรแกรมควบคุมที่รวมในลำดับความสำคัญของการวัดและอยู่ในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้น (ดู AOP.5.9, AOP.6.7, PCI.10 และ FMS.10)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.11
Ο 1. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการนำมาตรการความปลอดภัยในระดับองค์กรไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริการของแผนก/หน่วยบริการ รวมถึงบริการที่ทำสัญญาจ้าง
Ο 2. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการนำมาตรการความปลอดภัยไปปฏิบัติเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนากระบวนการภายในแผนกหรือหน่วยบริการ รวมทั้งตัววัดทางคลินิกที่องค์กรเลือกจากตัววัดใน Joint Commission International Library of Measures
Ο 3. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการเลือกมาตรการตามความต้องการสำหรับการพัฒนา และเลือกมาตรการใหม่เมื่อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ดูที่ QPS.10, ME 2)
Ο 4. มาตรการการวัดคุณภาพของแผนกและหน่วยบริการและกิจกรรมการพัฒนารวมอยู่ในและสนับสนุนโครงสร้างการประสานงานและการจัดการคุณภาพขององค์กร (ดูที่ QPS.10)


มาตรฐาน GLD.11.1
ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการของหน่วยงานทางคลินิกดำเนินการเลือกมาตรการคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเฉพาะขอบเขตบริการโดยแผนก/บริการ และเป็นประโยชน์ในการประเมินผลของแพทย์ พยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในกระบวนการดูแลทางคลินิก

เจตนาของ GLD.11.1
ผู้บริหารแผนกหรือหน่วยบริการคลินิกมีหน้าที่สร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมการวัดผลเพิ่มโอกาสสำหรับการประเมินผลบุคลากรเช่นเดียวกับกระบวนการดูแล | ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการเกี่ยวข้องกับการนัดหมาย การแต่งตั้งสิทธิ การตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และการนัดหมายแพทย์ใหม่ในแผนก/หน่วยบริการ | เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารของแผนก/หน่วยบริการมีข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้รวมถึง การตรวจวัดคุณภาพในช่วงเวลาทั้งหมดของการบริการที่มีโดยแผนก/หน่วยบริการและรวมถึงสิทธิทางคลินิกของแพทย์ทั้งหมด | ผลทางคลินิกในหัวข้อเจตนาของ SQE.11 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของแพทย์ | ในบางกรณี การชี้วัดจะเชื่อมโยงกับแนวทางปฏิบัติทางคลินิกที่นำมาใช้กับแผนกหรือการบริการ (ดูที่ GLD.11.2) | ถ้าเป็นไปได้ ตัววัดจะนำมาจากตัววัดใน Joint Commission International Library of Measures เพื่ออนุญาตให้ใช้ตัววัดที่เป็นมาตรฐานภายในแผนกหรือหน่วยบริการและเพื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ

ในทำนองเดียวกันข้อมูลมีความจำเป็นที่จะสนับสนุนการประเมินผลของพยาบาลและบุคลากรด้านวิชาชีพอื่นในแผนก | ถึงแม้ว่าบุคลากรเหล่านี้มีคำบรรยายลักษณะงานมากกว่าสิทธิประโยชน์ทางคลินิก ผู้บริหารแผนก/บริการยังคงรับผิดชอบในการประเมินผลการทำงาน | มาตรฐาน SQE.3 อธิบายกระบวนการประเมินผลของบุคคลเหล่านี้ และกิจกรรมการวัดที่ได้อธิบายไว้ในมาตรฐานนี้จะช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์ของกระบวนการประเมินผล | ในหลายกรณี แนวทางปฏิบัติทางคลินิกที่นำไปใช้ในแผนกหรือหน่วยบริการ มีความสัมพันธ์กับแผนการดูแล และระเบียบการที่เกี่ยวข้อง ที่จะให้การสนับสนุนการเก็บรวบรวมข้อมูลชี้วัดสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น (ดูที่ QPS.2 และ SQE.10)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.11.1
Ο 1. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการใช้ตัวชี้วัดให้เกิดประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของแทพย์ในแผนกหรือหน่วยบริการอย่างต่อเนื่อง (ดูที่ SQE.11)
Ο 2. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการใช้ตัวชี้วัดให้เกิดประโยชน์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายพยาบาล (ดูที่ SQE.14.1, ME 2)
Ο 3. ผู้บริหารแผนก/หน่วยบริการใช้ตัวชี้วัดให้เกิดประโยชน์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นๆ (ดูที่ SQE.16.1, ME 2)


มาตรฐาน GLD.11.2
มีการนำแนวปฏิบัติทางคลินิก (clinical practice guideline) วิถีทางคลินิก (clinical pathways) และ/หรือระเบียบวิธี (protocol) มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลทางคลินิก ℗

เจตนาของ GLD.11.2
เป้าหมายของสถานพยาบาล ประกอบด้วย

– การทำให้กระบวนการดูแลทางคลินิกเป็นมาตรฐาน
– การลดความเสี่ยงในกระบวนการดูแล โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการตัดสินใจที่มีความสำคัญสูง
– การให้การดูแลทางคลินิกในเวลาที่เหมาะสม มีประสิทธิผล ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ และ
– การให้การดูแลที่มีคุณภาพสูงโดยใช้การปฏิบัติที่อิงหลักฐานทางวิชาการอย่างคงเส้นคงวา

องค์กรใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้นและเป้าหมายอื่นๆ | ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพจัดทำกระบวนการดูแลทางคลินิกและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลทางคลินิกบนพื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุดที่มีอยู่ | แนวปฏิบัติทางคลินิกเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการทำความเข้าใจและประยุกต์ศาสตร์ที่ดีที่สุดกับการวินิจฉัยโรคหรือสภาวะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ดูที่ PCI.6.1) | องค์กรใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยแหล่งที่มีอำนาจเกี่ยวข้อง เช่น สมาคมหรือสภาวิชาชีพแห่งชาติ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีอยู่ในรายชื่อที่สามารถอนุมัติแนวปฏิบัติได้ | ถ้าแนวทางปฏิบัติทางคลินิกทำโดยองค์กร ควรถูกส่งไปยังแหล่งที่มีสิทธิรับรองได้

บ่อยครั้ง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของแนวทางปฏิบัติทางคลินิกจะต้องมีวิถีการดูแลทางคลินิก (clinical care pathway) และระเบียบวิธีทางคลินิก (clinical protocol) เพื่อนำไปปรับใช้หรือพัฒนา | วิถีการดูแลทางคลินิก และระเบียบวิธีทางคลินิก เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในความพยายามที่จะสร้างความมั่นใจในการบูรณาการและประสานการดูแลและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวปฏิบัติทางคลินิก (clinical practice guideline) วิถีการดูแลทางคลินิก (clinical care pathway) และระเบียบวิธีทางคลินิก (clinical protocol) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ป่วยและพันธกิจขององค์กร

a) ได้รับการเลือกจากแนวทางทั้งปวงที่ประยุกต์ได้กับบริการและผู้ป่วยขององค์กร (แนวทางระดับชาติที่มีการบังคับใช้ถูกรวมเข้าไว้ในกระบวนการนี้ ถ้ามี)
b) ได้รับการประเมินว่าสอดคล้องกับกลุ่มประชากรผู้ป่วยที่ระบุไว้
c) ได้รับการดัดแปลงตามความจำเป็นให้เข้ากับเทคโนโลยี ยา และทรัพยากรอื่นๆ ขององค์กร หรือบรรทัดฐานทางวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับของประเทศ
d) ได้รับการประเมินว่ามีหลักฐานทางวิชาการรองรับ
e) ได้รับการอนุมัติหรือดัดแปลงโดยองค์กรอย่างเป็นทางการ
f) ได้รับการนำไปปฏิบัติและวัดผลดูความสมํ่าเสมอและประสิทธิผลของการใช้
g) ได้รับการสนับสนุนโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อประยุกต์ใช้แนวทางหรือวิถีทางคลินิก และ
h) มีการปรับให้ทันสมัยเป็นระยะตามการเปลี่ยนแปลงในหลักฐานทางวิชาการ การประเมินกระบวนการและผลลัพธ์

แนวทางและวิถีการดูแลทางคลินิกจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อหลายแผนก/หน่วยบริการด้านคลินิก ผู้นำองค์กรได้รับการคาดหวังที่จะบรรลุสิ่งต่อไปนี้ในแต่ละปี

– ผู้นำทางคลินิกเลือกเรื่องที่มีความสำคัญสูง (high priority area) อย่างน้อยห้าเรื่อง เช่น การวินิจฉัยโรค เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือ กระบวนการ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ ประชากร เช่น ผู้สูงอายุ หรือ โรค เช่น โรคเบาหวาน และอื่นๆ ซึ่งแนวทางปฏิบัติ วิถีทางคลินิก และระเบียบวิธีจะมีผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยและลดความแปรปรวนในผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์
– ดำเนินการตามกระบวนการในข้อ a) ถึง h) สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญสูงที่ระบุไว้

ขั้นตอนการคัดเลือกไม่ได้ห้ามให้แต่ละแผนกหรือหน่วยบริการเลือกแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและวิถีทางคลินิก ที่เพิ่มขึ้น (ดูที่ IPSG.5; COP.8.6; COP.9.3, ME 1; GLD.8 และ SQE.11)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.11.2
Ο 1. ในแต่ละปี ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการกำหนดเรื่องที่มีความสำคัญสูงที่จะมุ่งใช้แนวทางปฏิบัติ อย่างน้อยห้าเรื่อง
Ο 2. ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการปฏิบัติตามกระบวนการที่ระบุไว้ใน a) ถึง h) ในหัวข้อเจตนา ในการนำแนวปฏิบัติทางคลินิก มาใช้
Ο 3. ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการนำแนวปฏิบัติทางคลินิก วิถีทางคลินิก หรือระเบียบวิธีทางคลินิก สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญสูงที่เกี่ยวข้องกับแผนก/หน่วยบริการ มาสู่การปฏิบัติ
Ο 4. ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการแสดงให้เห็นว่าการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก วิถีทางคลินิก และ/หรือระเบียบวิธีทางคลินิกสามารถลดความแปรปรวนในกระบวนการและผลลัพธ์ได้อย่างไร


GLD – ผู้กำกับดูแลกิจการขององค์กร | ความรับผิดชอบของผู้บริหาร | ความรับผิดชอบของผู้นำองค์กร | การบริหารองค์กรสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย | การบริหารองค์กรสำหรับสัญญาจ้าง | การบริหารองค์กรสำหรับการจัดทรัพยากร | การจัดการและความรับผิดชอบของบุคลากรทางคลินิก | ทิศทางของแผนกและหน่วยบริการในองค์กร | จริยธรรมองค์กรและคลินิก | การศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพและมนุษย์ | การวิจัยในสาขาวิชาเกี่ยวกับมนุษย์