fbpx
WeLoveMed.com

การรักษาเหงื่อออกมากในตปท.

การรักษาเหงื่อออกมากผิดปกติในต่างประเทศ โดย NHS – UK

(แปลเฉพาะ การรักษาที่ไม่ใช้แพทย์ผิวหนังและการผ่าตัด)

http://www.nhs.uk/Conditions/Hyperhidrosis/Pages/Treatment.aspx

การรักษาเหงื่อออกมากผิดปกติ

การรักษาเหงื่อออกมากผิดปกติเป็นสิ่งที่ท้าทายและใช้เวลาสักระยะที่จะหาวิธีรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การรักษาแบบรุกล้ำ(หรือรุกราน) แต่เพียงเล็กน้อยมักจะได้รับการแนะนำในครั้งแรก

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไม่สามารถรักษา ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบ primary ได้ (ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบบไม่มีสาเหตุ) แต่สามารถทำให้อาการดีขึ้นและช่วยเพิ่มความมั่นใจ

คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยได้

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่คุณรู้ว่าทำให้เหงื่อออกมากขึ้น เช่น อาหารเผ็ดและแอลกอฮอล์
  • ใช้สารระงับเหงื่อบ่อยขึ้นมากกว่าที่จะใช้สารระงับกลิ่นกาย
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่แน่น รัด และเส้นใยทอมือ เช่น ไนล่อน
  • สวมเสื้อสีดำหรือสีขาว ช่วยให้มองเห็นเหงื่อได้น้อยลง
  • สวมที่คลุมป้องกันรักแร้ช่วยดูดซับเหงื่อที่มากเกินไปและปกป้องเสื้อผ้า
  • ใส่ถุงเท้าจะช่วยดูดซับความชื้น เช่น ถุงเท้าหนาที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ หรือ ถุงเท้าพื้นพิเศษหรือถุงเท้ากีฬาที่ออกแบบมาเพื่อดูดซับความชื้น
  • หลีกเลี่ยงการสวมถุงเท้าที่ทำจากวัสดุทอมือและเปลี่ยนถุงเท้า 2 ครั้งต่อวัน ถ้าเป็นไปได้
  • จะเป็นการดีถ้าใส่รองเท้าที่ทำจากหนัง และสลับรองเท้าให้แตกต่างกันทุกวัน

การใช้สารระงับเหงื่อที่เข้มข้นขึ้น

ถ้าสารระงับเหงื่อปกติไม่สามารถควบคุมเหงื่อได้ แพทย์อาจสั่งยาหรือแนะนำให้ใช้ยาที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

สารระงับเหงื่อมีส่วนผสมของอลูมิเนียมคลอไรด์ นิยมใช้รักษาเหงื่อออกมากผิดปกติ ซึ่งทำงานโดยปิดต่อมเหงื่อไว้ ทาในตอนกลางคืนก่อนนอนและล้างออกในตอนเช้า

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้อลูมิเนียมคลอไรด์ คือ บริเวณที่ใช้จะระคายเคืองเล็กน้อย หรือ มีอาการคัน และ รู้สึกเสียว เหมือนโดนหนามแทง การใช้สารระงับเหงื่อน้อยครั้งลงช่วยลดการระคายเคือง การใช้ครีมบำรุงผิว (เพิ่มความชุ่มชื้น) เป็นประจำ และใช้อย่างอื่นแทนสบู่ อาจช่วยได้เช่นกัน

การใช้ยาที่ลดการทำงานของต่อมที่ท่อต่างๆ (Anticholinergics)

คุณอาจได้รับคำสั่งยาสำหรับประเภทยาที่เรียกว่า anticholinergic หรือ antimuscarinic ซึ่งทำงานโดยปิดกั้นการทำงานของ acetylcholine ซึ่งระบบประสาทใช้กระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ

Anticholinergic เป็นลักษณะของยาเม็ด หรือยาน้ำที่ใช้ทาบริเวณที่ต้องการรักษา ยานี้ไม่ได้ใช้รักษาเหงื่อออกมากผิดปกติและส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ยานี้ในการรักษา แต่บางคนพบว่ายานี้ช่วยลดเหงื่อได้

Propantheline bromide เป็นยาในกลุ่ม anticholinergic ใช้ในการรักษาเหงื่อออกมากผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่ม anticholinergic ที่ไม่ได้ใช้รักษาเหงื่อออกมากผิดปกติ เช่น oxybutynin และ glycopyrronium bromide แพทย์อาจสั่งยานี้ถ้าคิดว่าช่วยลดเหงื่อ

ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของ anticholinergic คือ ปากแห้ง ตาพร่า ปวดท้อง ท้องผูก และปัสสาวะลำบาก

ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nhs.uk/medicine-guides/pages/MedicineOverview.aspx?condition=Sweating&medicine=Propantheline%20bromide&preparation=

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Anticholinergics โดยภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาล่ัยเชียงใหม่ ได้ที่
http://www.med.cmu.ac.th/dept/pharmaco/LearningCenter/Tawat/AnticholinergicDrugs-47_342.pdf

หมายเหตุ: 
ในประเทศไทยพบว่า มีการสั่งยา Diutropan (ชื่อทางการค้า) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม oxybutynin ให้ผู้ป่วยเพื่อลดเหงื่อ