fbpx
WeLoveMed.com

FMS ระบบสาธารณูปโภค

ระบบสาธารณูปโภค (Utility Systems)

มาตรฐาน FMS.9
องค์กรจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการจัดการระบบสาธารณูปโภคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

มาตรฐาน FMS.9.1
มีการตรวจสอบ บำรุงรักษา และปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค

เจตนาของ FMS.9 และ FMS.9.1
ระบบสาธารณูปโภคหมายถึงระบบและอุปกรณ์ซึ่งสนับสนุนการบริการที่จำเป็นซึ่งทำให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย | ระบบรวมถึง การจ่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำ การระบายลมและการระบายอากาศ ก๊าซทางการแพทย์ ท่อประปา ความร้อน ของเสีย และการสื่อสารและระบบข้อมูล | ระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรเป็นสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย | ระบบสาธารณูปโภคและระบบหลักอื่นๆ ในองค์กรที่ดำเนินงานอย่างปลอดภัย มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความปลอดภัยของผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือน และสำหรับการตอบสนองความต้องการการดูแลของผู้ป่วย | สถานพยาบาลจัดให้มีการดูแลผู้ป่วยทั้งปกติและเร่งด่วน ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์ | ดังนั้น การไม่มีการขัดจังหวะของสาธารณูปโภคที่จำเป็นเป็นสิ่งสำคัญในการตอบสนองความต้องการการดูแลของผู้ป่วย

โปรแกรมบริหารระบบสาธารณูปโภคที่ดีทำให้มั่นใจในความน่าเชื่อถือของระบบสาธารณูปโภคและลดความเสี่ยงที่เป็นไปได้ | ตัวอย่างเช่น การปนเปื้อนขยะในบริเวณที่จัดเตรียมอาหาร การระบายอากาศที่ไม่เพียงพอในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ถังออกซิเจนที่เก็บไว้อย่างไม่ปลอดภัยมีการรั่วไหล และสายไฟฟ้าชำรุด เป็นตัวอย่างของการก่อให้เกิดอันตราย | เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้และอันตรายอื่นๆ องค์กรมีกระบวนการสำหรับตรวจสอบระบบอย่างสมํ่าเสมอ และมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและบำรุงรักษาอื่นๆ | ในระหว่างการทดสอบ จะใส่ใจต่อองค์ประกอบที่มีความสำคัญสูง (เช่น switches, relays) ของระบบ

องค์กรควรจัดทำบัญชีรายการขององค์ประกอบระบบสาธารณูปโภคอย่างสมบูรณ์และระบุองค์ประกอบที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อการช่วยชีวิต ควบคุมการติดเชื้อ สนับสนุนสิ่งแวดล้อม และการสื่อสาร | โปรแกรมบริหารระบบสาธารณูปโภครวมถึงกลยุทธ์สำหรับการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคเพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ของเสีย การระบายอากาศ และก๊าซทางการแพทย์ ได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ คงไว้ และมีการปรับปรุงถ้าจำเป็น

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.9
Ο 1. องค์กรจัดทำบัญชีรายการองค์ประกอบและการแจกจ่ายระบบสาธารณูปโภค
Ο 2. องค์กรระบุการตรวจสอบและการบำรุงรักษาสำหรับองค์ปรกอบการดำเนินงานของระบบสาธารณูปโภคในบัญชีรายการ ตามเกณฑ์ เช่น คำแนะนำของผู้ผลิต ระดับความเสี่ยง และประสบการณ์ขององค์กร
Ο 3. องค์กรแบ่งประเภทการควบคุมระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกในการปิดระบบจากภาวะฉุกเฉินบางส่วนหรือเต็มที่

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.9.1
Ο 1. มีการตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคและองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่องค์กรพัฒนาขึ้น
Ο 2. มีการทดสอบระบบสาธารณูปโภคและองค์ประกอบตามเกณฑ์ขององค์กร
Ο 3. มีการบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและองค์ประกอบตามเกณฑ์ขององค์กร
Ο 4. มีการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและองค์ประกอบเมื่อจำเป็น


มาตรฐาน FMS.9.2
โปรแกรมบริหารระบบสาธารณูปโภคทำให้มั่นใจว่ามีนํ้าสะอาดและพลังงานไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา และจัดตั้งแหล่งทางเลือกสำรองเมื่อเกิดเหตุขัดข้องในระบบประปาหรือไฟฟ้า การปนเปื้อน หรือการล่มของระบบ และนำไปปฏิบัติ

มาตรฐาน FMS.9.2.1
องค์กรทดสอบระบบประปาและไฟฟ้าฉุกเฉินอย่างสมํ่าเสมอ และบันทึกผล

เจตนาของ FMS.9.2 และ FMS.9.2.1
สถานพยาบาลจัดให้มีการดูแลผู้ป่วยทั้งปกติและเร่งด่วน ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์ | องค์กรมีความต้องการระบบสาธารณูปโภคที่แตกต่างกันขึ้นกับวัตถุประสงค์ ความต้องการของผู้ป่วย และทรัพยากร | แหล่งนํ้าสะอาดและพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการในการดูแลผู้ป่วย | องค์กรต้องปกป้องผู้ป่วยและบุคลากรในภาวะฉุกเฉิน เช่น ระบบขัดข้อง การขัดจังหวะ หรือ การปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นระบบประเภทใด ใช้ทรัพยากรในระดับใด

ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กรที่ให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน | ระบบดังกล่าวมีไฟฟ้าที่เพียงพอที่จะคงไว้ซึ่งการทำงานที่จำเป็นระหว่างที่ระบบไฟฟ้าขัดข้อง | มีการทดสอบแหล่งกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินและสำรองภายใต้สถานการณ์ที่วางแผนไว้ซึ่งจำลองปริมาณความต้องการพลังงานไฟฟ้าเหมือนจริง | มีการพัฒนาเมื่อจำเป็น เช่น เพิ่มระดับบริการไฟฟ้าให้แก่พื้นที่ที่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่หรือเครื่องมือใหม่

คุณภาพนํ้าอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยสาเหตุหลายประการ บางสาเหตุมาจากนอกองค์กร เช่น ท่อประปาภายนอกแตก | เมื่อมีการขัดขวางของแหล่งน้ำปกติที่แจกจ่ายให้กับองค์กร แหล่งน้ำประปาฉุกเฉินต้องใช้ได้ทันที

เพื่อเตรียมการสำหรับภาวะฉุกเฉินดังกล่าว องค์กร

  • ระบุเครื่องมือ ระบบ และสถานที่ ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อผู้ป่วยและบุคลากร เช่น ระบุว่าที่ใดต้องการแสงสว่าง ตู้เย็น การช่วยชีวิต และนํ้าสะอาดสำหรับใช้ทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อ
  • ประเมินและลดความเสี่ยงจากการล่มของระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่เหล่านี้
  • วางแผนเตรียมแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าและนํ้าสะอาดฉุกเฉินสำหรับพื้นที่และความต้องการเหล่านี้
  • ทดสอบความพร้อมใช้และความน่าเชื่อถือของแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าและนํ้าสะอาดฉุกเฉิน
  • บันทึกผลการทดสอบ และ
  • ทำให้มั่นใจว่ามีการทดสอบแหล่งทางเลือกของนํ้าและพลังงานไฟฟ้าอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยตามข้อกำหนดของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่น หรือสภาวะของแหล่งพลังงานและนํ้า | สภาวะของแหล่งพลังงานและนํ้าซึ่งอาจทำให้ต้องมีการทดสอบบ่อยขึ้นได้แก่
    o มีการซ่อมระบบประปาซํ้า
    o มีการปนเปื้อนของแหล่งนํ้าบ่อยครั้ง
    o Electrical grid ที่ไม่น่าเชื่อถือ และ
    o ไฟฟ้าดับ ไฟตก ที่คาดการณ์ไม่ได้บ่อยครั้ง

เมื่อระบบไฟฟ้าฉุกเฉินต้องการพลังงานน้ำมัน ปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานที่ที่จัดเก็บควรคำนึงปริมาณการขาดแคลนที่ผ่านมาและปัญหาการจัดส่งใด ๆ ที่คาดว่าจะเกิดจากการขาดแคลน สภาพอากาศ และสภาพภูมิศาสตร์และที่ตั้ง | องค์กรอาจกำหนดปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บไว้เว้นแต่มีอำนาจระบุจำนวน

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.9.2
Ο 1. มีนํ้าสะอาดพร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์
Ο 2. มีพลังงานไฟฟ้าพร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันของสัปดาห์
Ο 3. องค์กรได้ค้นหาพื้นที่และบริการที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด เมื่อระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือระบบประปามีการปนเปื้อนหรือหยุดชะงัก
Ο 4. องค์กรหาทางลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ดังกล่าว
Ο 5. องค์กรวางแผนจัดหาแหล่งทางเลือกของไฟฟ้าและนํ้าในภาวะฉุกเฉิน

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.9.2.1
Ο 1. องค์กรทดสอบแหล่งนํ้าทางเลือกอย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นกำหนด หรือตามสภาวะของแหล่งนํ้า
Ο 2. องค์กรบันทึกผลลัพธ์การทดสอบดังกล่าว
Ο 3. องค์กรทดสอบแหล่งไฟฟ้าทางเลือกอย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นกำหนด คำแนะนำของผู้ผลิต หรือตามสภาวะของแหล่งไฟฟ้า
Ο 4. องค์กรบันทึกผลลัพธ์การทดสอบดังกล่าว
Ο 5. เมื่อระบบไฟฟ้าฉุกเฉินต้องการพลังงานน้ำมัน องค์กรกำหนดและมีปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บไว้พร้อมใช้งาน


มาตรฐาน FMS.9.3
บุคคลผู้ได้รับมอบหมายหรือมีอำนาจหน้าที่ ติดตามคุณภาพนํ้าอย่างสมํ่าเสมอ

เจตนาของ FMS.9.3
ตามที่ระบุไว้ใน FMS.9.2 และ FMS.9.2.1 คุณภาพนํ้าอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยสาเหตุหลายประการ บางสาเหตุมาจากนอกองค์กร | คุณภาพนํ้าเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการดูแลทางคลินิก เช่น การฟอกไต | ดังนั้น องค์กรจัดให้มีกระบวนการติดตามคุณภาพนํ้าอย่างสมํ่าเสมอ รวมถึงการทดสอบทางชีววิทยาเป็นประจำสำหรับนํ้าที่ใช้ในการฟอกไตเรื้อรัง | มีการดำเนินการเมื่อพบว่าคุณภาพน้ำไม่ปลอดภัย

การติดตามอย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยกว่าขึ้นอยู่กับสภาวะของแหล่งน้ำและประสบการณ์ปัญหาคุณภาพนํ้าที่ผ่านมา | การติดตามอาจจะจัดทำโดยบุคคลที่องค์กรกำหนด เช่น บุคลากรจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานควบคุมนํ้าภายนอกซึ่งมีความสามารถที่จะทำการทดสอบดังกล่าว | เป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะสร้างความมั่นใจว่ามีการทดสอบอย่างสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะติดตามโดยบุคลากรขององค์กรที่มีคุณสมบัติหรือโดยเจ้าหน้าที่นอกโรงพยาบาล และมีการบันทึกไว้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.9.3
Ο 1. มีการติดตามคุณภาพนํ้าอย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นกำหนด สภาวะของแหล่งนํ้า และประสบการณ์ปัญหาคุณภาพนํ้าที่ผ่านมา การติดตามมีการบันทึกไว้
Ο 2. มีการทดสอบนํ้าที่ใช้ในการฟอกไตเรื้อรังและมีการบันทึกการทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรมอย่างน้อยไตรมาสละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นกำหนด สภาวะของแหล่งนํ้า และประสบการณ์ปัญหาคุณภาพนํ้าที่ผ่านมา
Ο 3. มีการดำเนินการเมื่อพบว่าคุณภาพน้ำไม่ปลอดภัย และมีการบันทึกไว้


FMS – การนำและการวางแผน | ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ | วัตถุอันตราย | การเตรียมพร้อมรับอุบัติภัย | ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย | เทคโนโลยีทางการแพทย์ | ระบบสาธารณูปโภค | การติดตามโปรแกรมบริหารจัดการอาคารสถานที่ | การให้ความรู้แก่บุคลากร