fbpx
WeLoveMed.com

FMS วัตถุอันตราย

วัตถุอันตราย (Hazardous Materials)

มาตรฐาน FMS.5
องค์กรมีแผนสำหรับทำบัญชีรายการ การหยิบสัมผัส (handling) การจัดเก็บ และการใช้ว้ตถุอันตราย

มาตรฐาน FMS.5.1
องค์กรมีแผนสำหรับการควบคุมและกำจัด วัตถุและของเสียอันตราย

เจตนาของ FMS.5 และ FMS.5.1
องค์กรระบุวัตถุและของเสียอันตราย และควบคุมความปลอดภัยตามแผน และวัตถุและของเสียทั่วอาคารสถานที่ | (ดูที่ PCI.7.2) องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุวัตถุและของเสียอันตรายแต่ละประเภทดังนี้

  • ของเสียติดเชื้อ
  • ของเสียที่เป็นกายวิภาค (anatomical waste) และของเสียทางการแพทย์ (pathological waste)
  • ของเสียที่เป็นยาอันตราย
  • ของเสียที่เป็นเคมีอันตราย
  • ของเสียที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก
  • ของเสียที่เป็นถังบรรจุความดัน
  • ของมีคม
  • ของเสียที่ติดเชื้อได้สูง
  • ของเสียที่เป็นพิษต่อยีน/เซลล์ (genotoxic/cytotoxic waste)
  • ของเสียกัมมันตรังสี

องค์กรพิจารณาประเภทวัตถุอันตรายที่ระบุโดยองค์การอนามัยโลกเหล่านี้เมื่อจัดทำบัญชีรายการวัตถุและของเสียอันตราย | โปรแกรมของเสียอันตรายเริ่มจากการค้นหาทุกพื้นที่ทั่วอาคารสถานที่ที่มีวัตถุและของเสียอันตรายตั้งอยู่ | บันทึกการค้นหาควรรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ชนิด และปริมาณของวัตถุและของเสียอันตรายที่ถูกจัดเก็บไว้ และปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ การจัดเก็บ ชนิดและปริมาณของของเสีย

แผนเกี่ยวกับวัตถุอันตรายประกอบด้วยกระบวนการสำหรับ

  • การจัดทำบัญชีรายการวัตถุและของเสียอันตราย รวมถึง ชื่อวัตถุ ปริมาณ และสถานที่
  • การหยิบสัมผัส (handling) การจัดเก็บ และการใช้วัตถุอันตราย
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้ การหกรั่วไหล หรือสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ (exposure) กับวัตถุอันตราย
  • การติดป้ายวัตถุและของเสียอันตรายอย่างเหมาะสม
  • การรายงานและการสอบสวนเมื่อมีการหกรั่วไหล การสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ หรืออุบัติการณ์อื่นๆ
  • การกำจัดของเสียอันตรายอย่างเหมาะสม
  • เอกสารและการบันทึก รวมถึงใบอนุญาต (permit), ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (license) หรือข้อกำหนดจากระเบียบข้อบังคับอื่นๆ

สารสนเทศเกี่ยวกับวิธีการจัดการหรือทำงานกับวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัยต้องมีทันทีตลอดเวลาและรวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับข้อมูลทางกายภาพของวัตถุ (เช่น จุดเดือด จุดที่กระพริบเตือน และคล้ายๆ กัน) ความเป็นพิษ ผลกระทบในการใช้วัตถุอันตรายที่จะมีผลต่อสุขภาพ ระบุการจัดเก็บและการกำจัดที่เหมาะสมหลังการใช้ ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันที่ต้องการระหว่างการใช้งาน และวิธีปฏิบัติเมื่อหกรั่วไหล การช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ | ผู้ผลิตส่วนใหญ่ให้ข้อมูลนี้ใน ผังข้อมูลความปลอดภัยของวัตถุ (MSDS) (ดูที่ AOP.5.3, AOP.5.6, AOP.6.6, MMU.3, และ MMU.3.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.5
Ο 1. องค์กรระบุวัตถุและของเสียอันตรายถึงชนิด สถานที่ และปริมาณ และจัดทำบัญชีรายการวัตถุดังกล่าวที่มีในองค์กรและเป็นปัจจุบัน
Ο 2. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการหยิบสัมผัส (handling) การเก็บรักษา และการใช้วัตถุอันตราย อย่างปลอดภัย
Ο 3. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับอุปกรณ์ป้องกันและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้งาน (ดูที่ AOP.6.3, ME 3)
Ο 4. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการติดป้ายของวัตถุและของเสียอันตราย
Ο 5. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับข้อกำหนดเรื่องเอกสารและการบันทึก รวมถึงใบอนุญาต (permit), ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (license) หรือข้อกำหนดจากระเบียบข้อบังคับอื่นๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.5.1
Ο 1. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการรายงานและการสอบสวน เมื่อมีการหกรั่วไหล การสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ (exposure) และอุบัติการณ์อื่นๆ
Ο 2. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับอุปกรณ์ป้องกันและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้งาน การหกรั่วไหล หรือการสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ
Ο 3. มีสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและเข้าถึงได้ตลอดเกี่ยวกับวัตถุอันตรายเกี่ยวข้องกับ การจัดการอย่างปลอดภัย วิธีการจัดการเมื่อหกรั่วไหล และวิธีการเมื่อสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ
Ο 4. มีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการหยิบสัมผัสของเสียในองค์กรที่เหมาะสม และการกำจัดของเสียอันตรายอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย


FMS – การนำและการวางแผน | ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ | วัตถุอันตราย | การเตรียมพร้อมรับอุบัติภัย | ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย | เทคโนโลยีทางการแพทย์ | ระบบสาธารณูปโภค | การติดตามโปรแกรมบริหารจัดการอาคารสถานที่ | การให้ความรู้แก่บุคลากร