fbpx
WeLoveMed.com

COP อาหารและโภชนบำบัด

อาหารและโภชนบำบัด (Food and Nutrition Therapy)

มาตรฐาน COP.4
มีอาหารที่เหมาะสมกับภาวะโภชนาการของผู้ป่วย สอดคล้องกับการดูแลทางคลินิก และมีความหลากหลายให้เลือกได้ตลอดเวลา

เจตนาของ COP.4
อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาวะและการฟื้นตัวของผู้ป่วย | มีการจัดอาหารที่เหมาะสมกับอายุ วัฒนธรรม ความชอบของผู้ป่วย และแผนการดูแล ให้แก่ผู้ป่วยซึ่งอาจจะรวมถึงความต้องการควบคุมอาหารเป็นพิเศษ เช่น อาหารที่มีคลอเรสเตอรอลต่ำ อาหารผู้ป่วยเบาหวานและของเหลว ขึ้นกับการวินิจฉัยผู้ป่วย | ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนและเลือกอาหาร ครอบครัวของผู้ป่วยอาจมีส่วนร่วมในการจัดหาอาหารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ศาสนาและการประเพณีปฏิบัติอื่นๆ | แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้สั่งอาหารหรือสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ตามผลการประเมินภาวะความต้องการของผู้ป่วยและแผนการดูแล | หากครอบครัวของผู้ป่วยหรือผู้อื่นเป็นผู้จัดหาอาหารแก่ผู้ป่วย บุคคลเหล่านั้นได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เป็นข้อห้าม ตามภาวะความต้องการและแผนการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับอาหาร | ผู้ป่วยได้รับโอกาสให้เลือกอาหารที่หลากหลาย สอดคล้องกับสภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วย (ดูที่ AOP.1.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.4
Ο 1. มีอาหารที่หลากหลายให้ผู้ป่วยเลือกซึ่งสอดคล้องกับสภาวะของผู้ป่วยและการดูแล พร้อมให้บริการเป็นประจำ
Ο 2. ผู้ป่วยทุกรายมีคำสั่งอาหารในเวชระเบียนของตน ก่อนที่จะให้บริการอาหารแก่ผู้ป่วย
Ο 3. คำสั่งอาหารขึ้นกับสภาวะทางโภชนาการและภาวะความต้องการของผู้ป่วย
Ο 4. มีการส่งมอบอาหารตรงเวลา และคำสั่งอาหารเฉพาะได้รับการตอบสนอง
Ο 5. ครอบครัวที่จัดหาอาหารให้ผู้ป่วย ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เป็นข้อจำกัดของผู้ป่วย


มาตรฐาน COP.5
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงด้านโภชนาการได้รับโภชนบำบัด

เจตนาของ COP.5
ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองเพื่อบ่งชี้ผู้ที่มีความเสี่ยงด้านโภชนาการในการประเมินเมื่อแรกรับ | ผู้ป่วยเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังโภชนากรเพื่อประเมินเพิ่มเติม | เมื่อมีความเห็นว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงทางด้านโภชนาการ จะมีการปฏิบัติตามแผนโภชนบำบัด | มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยและบันทึกไว้ในเวชระเบียน | แพทย์ พยาบาล บริการอาหาร รวมถึงครอบครัวผู้ป่วยเมื่อมีข้อบ่งชี้ ร่วมกันวางแผนและให้การดูแลด้านโภชนบำบัด (ดูที่ AOP.1.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.5
Ο 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงด้านโภชนาการ ได้รับโภชนบำบัด
Ο 2. ใช้กระบวนการที่ร่วมมือกันในการวางแผน ให้การดูแล และติดตามด้านโภชนบำบัด
Ο 3. มีการเฝ้าติดตามการตอบสนองของผู้ป่วยต่อโภชนบำบัดและบันทึกไว้ในเวชระเบียน (ดูที่ AOP.2, ME 1)


COP – การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย | การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง | การรับรู้ของการเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วย | บริการกู้ชีพ | อาหารและโภชนบำบัด | การบำบัดความเจ็บปวด | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ | โปรแกรมปลูกถ่ายอวัยวะบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่