fbpx
WeLoveMed.com

COP การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต

การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต (End-of-Life Care)

ผู้ป่วยซึ่งเข้าใกล้ระยะสุดท้ายของชีวิตรวมทั้งครอบครัวของผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องการการดูแลที่มุ่งเน้นไปที่ความต้องการที่จำเพาะ | ผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตอาจจะประสบกับอาการเนื่องมาจากการดำเนินโรคหรือการรักษา หรืออาจต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับประเด็นด้านจิตสังคม จิตวิญญาณ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายและการเสียชีวิต | ครอบครัวและผู้ดูแลอาจต้องการช่วงพักจากการดูแลสมาชิกครอบครัวที่กำลังเจ็บป่วยระยะสุดท้าย หรือความช่วยเหลือในการจัดการกับความเศร้าและความสูญเสีย

เป้าหมายขององค์กรในการให้การดูแลสำหรับระยะสุดท้ายของชีวิตนั้นจะต้องพิจารณาลักษณะการดูแลหรือบริการที่จัดให้ (เช่น การจัดเป็น hospice หรือหน่วยดูแลประคับประคอง) ประเภทของบริการที่จัดให้ และกลุ่มผู้ป่วยที่ให้บริการ | องค์กรจัดให้มีกระบวนการเพื่อจัดการดูแลระยะสุดท้าย | กระบวนการเหล่านี้

– สร้างความมั่นใจว่ามีการประเมินอาการต่างๆ และจัดการอย่างเหมาะสม
– สร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการบำบัดรักษาอย่างมีศักดิ์ศรีและด้วยความเคารพ
– ประเมินผู้ป่วยบ่อยเท่าที่จำเป็นเพื่อตรวจหาอาการต่างๆ
– วางแผนด้านการป้องกันและรักษาเพื่อจัดการกับอาการต่างๆ และ
– ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและบุคลากรเกี่ยวกับการบำบัดอาการต่างๆ


มาตรฐาน COP.7
องค์กรให้ความสำคัญกับการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต

เจตนาของ COP.7
ผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตมีภาวะความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะที่จะได้รับการดูแลด้วยความเคารพและความเห็นอกเห็นใจ | เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ บุคลากรทุกคนต้องตระหนักในภาวะความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต | ควรใช้ความใส่ใจต่อความสะดวกสบายและศักดิ์ศรีของผู้ป่วยชี้นำการดูแลทุกด้านระหว่างช่วงสุดท้ายของชีวิต | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิตที่องค์กรจัดให้ประกอบด้วย

a) การบำบัดอาการต่างๆ อย่างเหมาะสมตามความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัว
b) การปรึกษาในประเด็น เช่น การผ่าพิสูจน์ศพ การบริจาคอวัยวะ ด้วยความระมัดระวัง
c) การเคารพต่อค่านิยม ศาสนา และวัฒนธรรมที่เป็นหลักยึดของผู้ป่วย
d) การให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลทุกด้าน และ
e) การตอบสนองต่อข้อกังวลด้านจิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณ และวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัว

เพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ บุคลากรทุกคนต้องตระหนักในภาวะความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะในระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรประเมินคุณภาพของการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิตที่จัดให้โดยประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยและบุคลากรต่อการดูแลดังกล่าว (ดูที่ PFR.2.3)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.7
Ο 1. บุคลากรตระหนักในภาวะความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
Ο 2. การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิตที่องค์กรจัดให้ พิจารณาภาวะความต้องการของผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต อย่างน้อยตามเจตนาข้อ a) ถึง e)
Ο 3. มีการประเมินคุณภาพการดูแลระยะสุดท้ายของชิวิตโดยครอบครัวและบุคลากร


มาตรฐาน COP.7.1
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต ให้ความสุขสบายและคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของผู้ป่วย

เจตนาของ COP.7.1
องค์กรสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดหรือกำลังจะเสียชีวิตอย่างเหมาะสมโดย

– ให้การดูแลเพื่อจัดการความเจ็บปวด และอาการหลักหรืออาการที่ตามมา
– ป้องกันอาการและภาวะแทรกซ้อนเท่าที่จะสามารถทำได้
– มีการดำเนินการเกี่ยวกับความต้องการด้านจิตสังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวเนื่องจากเสียชีวิตและความเศร้าโศก
– มีการดำเนินการเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัว และ
– ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแล

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.7.1
Ο 1. มีการดูแลเพื่อจัดการความเจ็บปวด และอาการหลักหรืออาการที่ตามมา
Ο 2. มีการป้องกันอาการและภาวะแทรกซ้อนเท่าที่จะสามารถทำได้
Ο 3. มีการดำเนินการเกี่ยวกับความต้องการด้านจิตสังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวเนื่องจากการเสียชีวิตและความเศร้าโศก
Ο 4. มีการดำเนินการเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัว
Ο 5. ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแล (ดูที่ PFR.2)


COP – การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย | การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง | การรับรู้ของการเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วย | บริการกู้ชีพ | อาหารและโภชนบำบัด | การบำบัดความเจ็บปวด | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ | โปรแกรมปลูกถ่ายอวัยวะบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่