fbpx
WeLoveMed.com

COP การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย

การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย (Care Delivery for All Patients)

มาตรฐาน COP.1
นโยบายและระเบียบปฏิบัติ รวมถึงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยทุกรายในลักษณะเดียวกัน (uniform care) ℗

เจตนาของ COP.1
ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพและภาวะความต้องการการดูแลในลักษณะเดียวกัน มีสิทธิที่จะได้รับการดูแลที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันทั่วทั้งองค์กร | การนำหลักการ “คุณภาพการดูแลระดับเดียว” (one level of quality of care) ไปสู่การปฏิบัติ ต้องอาศัยผู้นำมาวางแผนและประสานการดูแลผู้ป่วย | โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริการที่จัดให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะคล้ายกันในแผนกหรือ ลักษณะแวดล้อม (setting) ต่างๆ ได้รับการชี้นำโดยนโยบายและระเบียบปฏิบัติซึ่งส่งผลให้มีการดูแลในแนวทางเดียวกัน | ผู้นำสร้างความมั่นใจว่ามีการดูแลในระดับเดียวกัน ตลอดทุกวันของสัปดาห์ และทุกเวรของแต่ละวัน |  นโยบายและระเบียบปฏิบัติซึ่งให้แนวทางแก่กระบวนการดูแลเหล่านั้น เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และได้รับการจัดทำด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดี | การดูแลผู้ป่วยในลักษณะเดียวกันสามารถสะท้อนให้เห็นได้จาก:

a) การเข้าถึงและความเหมาะสมของการดูแลรักษา ไม่ขึ้นกับความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วยหรือแหล่งที่มาของการจ่ายค่ารักษา
b) การเข้าถึงการดูแลรักษาที่เหมาะสมโดยผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ไม่ขึ้นกับวันหรือเวลา
c) ความรุนแรงของสภาพผู้ป่วย กำหนดทรัพยากรที่จะใช้เพื่อตอบสนองภาวะความต้องการของผู้ป่วย
d) ระดับของการดูแลที่จัดให้ผู้ป่วย (เช่น บริการระงับความรู้สึก) เหมือนกันทั่วทั้งองค์กร
e) ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลทางการพยาบาลในลักษณะเดียวกัน ได้รับการดูแลดังกล่าวในระดับเดียวกันทั่วทั้งองค์กร

การดูแลผู้ป่วยในลักษณะเดียวกัน ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถประเมินผลลัพธ์ในการรักษาที่มีลักษณะเดียวกันได้ทั้งองค์กร (ดูที่ PFR.1.1 และ GLD.12)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.1
Ο 1. ผู้นำขององค์กรร่วมมือเพื่อจัดให้มีกระบวนการดูแลในลักษณะเดียวกัน
Ο 2. นโยบายและระเบียบปฏิบัติให้แนวทางการดูแลในลักษณะเดียวกัน และสะท้อนถึงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
Ο 3. จัดให้มีการดูแลในลักษณะเดียวกันตามเจตนาของมาตรฐาน COP.1 ข้อ a) ถึง e)


มาตรฐาน COP.2
มีกระบวนการในการรวมเข้าด้วยกันและประสานการดูแลที่จัดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย

เจตนาของ COP.2
กระบวนการดูแลผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสุขภาพจำนวนมาก และอาจต้องใช้ ลักษณะแวดล้อม (setting) แผนก และบริการต่างๆ ที่หลากหลาย | การบูรณาการและการประสานกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเป็นเป้าหมายที่ส่งผลต่อกระบวนการดูแลที่มีประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นที่มีประสิทธิผล และโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วย | ดังนั้น ผู้นำจึงใช้เครื่องมือและเทคนิคเพื่อให้เกิดการรวมเข้าด้วยกันและประสานการดูแลผู้ป่วย (เช่น การดูแลโดยทีม การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ แบบบันทึกการวางแผนการดูแลร่วมกัน เวชระเบียนที่ใช้บันทึกร่วมกัน ผู้จัดการประจำตัวผู้ป่วย)

เวชระเบียนผู้ป่วยมีส่วนช่วยและสะท้อนให้เห็นการรวมเข้าด้วยกันและการประสานการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสังเกตและการรักษาที่ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละคนบันทึกไว้ในเวชระเบียน รวมถึงผลลัพธ์หรือข้อสรุปจากการประชุมร่วมกันของทีมดูแลผู้ป่วย หรือการอภิปรายกรณีผู้ป่วยที่บันทึกไว้ในเวชระเบียน (ดูที่ AOP.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.2
Ο 1. มีการรวมเข้าด้วยกันและประสานการวางแผนดูแลผู้ป่วย ระหว่างลักษณะแวดล้อม (setting) แผนก และบริการต่างๆ
Ο 2. มีการรวมเข้าด้วยกันและประสานการดูแลผู้ป่วย ระหว่างลักษณะแวดล้อม (setting) แผนก และบริการต่างๆ
Ο 3. มีการบันทึกผลหรือข้อสรุปของการประชุมร่วมกันของทีมดูแลผู้ป่วยหรือการอภิปรายร่วมกันอื่นๆ ไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย


มาตรฐาน COP.2.1
การดูแลที่จัดให้ผู้ป่วยแต่ละราย ได้รับการวางแผนและบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

เจตนาของ COP.2.1
แผนการดูแลผู้ป่วยเป็นแนวทางในการดูแลและรักษาผู้ป่วยแต่ละราย | แผนของการดูแลระบุชุดของการกระทำที่ทีมดูแลสุขภาพจะดำเนินการแก้ไขหรือสนับสนุนการวินิจฉัยที่ระบุโดยการประเมิน | เป้าหมายโดยรวมของการดูแลคือการได้ผลทางคลินิกที่ดีที่สุด

กระบวนการวางแผนเป็นการทำงานร่วมกันและใช้ข้อมูลจากการประเมินเบื้องต้นและจากการประเมินซํ้าเป็นระยะ  ได้รับการวางแผนโดยแพทย์ พยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ ที่รับผิดชอบ เพื่อระบุ และจัดลำดับความสำคัญของการรักษา หัตถการ การดูแลทางการพยาบาล และการดูแลอื่นๆ ที่จะตอบสนองภาวะความต้องการของผู้ป่วย | ผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนกับทีมดูแลสุขภาพ | แผนการดูแลได้รับการจัดทำภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับไว้เป็นผู้ป่วยใน | แผนการดูแลได้รับการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน เหมาะสมกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย โดยใช้ผลที่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยประเมินผู้ป่วยซํ้า | มีการบันทึกแผนการดูแลไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

แผนการดูแลผู้ป่วยต้องสัมพันธ์กับภาวะความต้องการของผู้ป่วยที่ระบุไว้ | ภาวะความต้องการเหล่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากอาการทางคลินิกที่ดีขึ้น มีข้อมูลใหม่จากการประเมินซํ้า (เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือรังสีวิทยา) หรือมีหลักฐานจากการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันในสภาวะของผู้ป่วย (เช่น การสูญเสียความรู้สึกตัว) (ดูที่ COP.8.7 และ COP.9.3) | การบันทึกการเปลี่ยนแปลงในเวชระเบียนอาจจะเป็นการเขียนบันทึกข้อสังเกตต่อแผนการดูแลที่จัดทำไว้ในครั้งแรก หรือเป็นการจัดทำแผนการดูแลใหม่ทั้งหมด

วิธีการหนึ่งของการพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยคือการระบุและกำหนดความก้าวหน้าที่สามารถวัดได้ (เป้าหมาย) | ความก้าวหน้าที่สามารถวัดได้ (เป้าหมาย) สามารถเลือกโดยแพทย์ผู้รับผิดชอบในความร่วมมือกับพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพอื่นๆ | ความก้าวหน้าที่สามารถวัดได้ (เป้าหมาย) เป็นที่สังเกตได้ เป็นเป้าหมายที่ทำได้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยและผลรักษาทางคลินิกที่คาดหวังไว้ | บุคลากรต้อง เป็นจริง เจาะจงผู้ป่วย และทันเวลาในการจัดให้มีวิธีการวัดความก้าวหน้าและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับแผนการดูแล | ตัวอย่างของการวัดเป้าหมายที่เป็นจริงรวมถึงดังนี้:

  • ผู้ป่วยจะดำเนินการต่อและรักษาผลการเต้นของหัวใจที่เพียงพอตามที่ระบุโดยอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะ และความดันโลหิตในระดับปกติ
  • ผู้ป่วยแสดงให้เห็นถึงการบริหารยาด้วยตนเองในการฉีดอินซูลินก่อนที่จะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยสามารถเดินจากเตียงไปยังที่พักผู้มาเยือนด้วยวอร์กเกอร์มาตรฐาน แบกรับน้ำหนักที่ยอมรับได้บนขาที่ได้รับผลกระทบ

หมายเหตุ: แผนการดูแลที่พึงประสงค์คือแผนหนึ่งเดียวที่มีลักษณะรวมเข้าด้วยกันซึ่งระบุความก้าวหน้าที่สามารถวัดได้ (เป้าหมาย) ซึ่งคาดหวังโดยผู้ให้บริการแต่ละสาขา มากกว่าจะเป็นแผนการดูแลที่แยกจัดทำโดยผู้ให้บริการแต่ละคน | แผนการดูแลสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายควรสะท้อนเป้าหมายการดูแลที่เป็นไปได้ วัดได้ และมีลักษณะเฉพาะราย เพื่อช่วยในการประเมินซํ้าและปรับปรุงแผนการดูแล (ดูที่ PFE.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.2.1
Ο 1. การดูแลสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการวางแผนโดยแพทย์ พยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ ที่รับผิดชอบ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
Ο 2. แผนการดูแลมีลักษณะเฉพาะบุคคล บนพื้นฐานของข้อมูลการประเมินผู้ป่วยเมื่อแรกรับและความต้องการของผู้ป่วยที่ระบุไว้
Ο 3. มีการปรับปรุงหรือทบทวนแผนการดูแลตามความเหมาะสมโดยทีมจากหลายวิชาชีพ ตามผลการประเมินผู้ป่วยซํ้าโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพ
Ο 4. มีการบันทึกแผนการดูแลเมื่อเริ่มต้นและแผนที่มีการปรับปรุงในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 5. มีการทบทวนแผนการดูแลสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายเมื่อเริ่มจัดทำและเมื่อมีการปรับปรุงขึ้นกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโดยทีมจากหลายวิชาชีพ และมีการบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 6. มีการบันทึกการดูแลที่จัดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายในเวชระเบียนผู้ป่วยโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพที่ให้การดูแล (ดูที่ COP.2.3; ASC.3; ASC.5 และ MOI.10.1, ME 4)


มาตรฐาน COP.2.2
องค์กรกำหนดกระบวนการดูแลผู้ป่วยทุกรายในลักษณะเดียวกัน (uniform process) สำหรับคำสั่งการรักษาผู้ป่วย และนำไปปฏิบัติ ℗

เจตนาของ COP.2.2
กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยหลายกิจกรรมต้องการผู้มีสิทธิเขียนคำสั่งการรักษาผู้ป่วยสำหรับกิจกรรมนั้นซึ่งต้องบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย | กิจกรรมดังกล่าวอาจรวมถึง ตัวอย่างเช่น คำสั่งสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การบริหารยา การดูแลทางการพยาบาล โภชนบำบัด การบำบัดฟื้นฟูสภาพ และอื่นๆ ที่คล้ายกัน| กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยได้รับการสั่งโดยบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม | คำสั่งดังกล่าวจะต้องสามารถเข้าถึงโดยง่าย เพื่อให้ได้รับการปฏิบัติในเวลาที่เหมาะสม |  การเขียนคำสั่งในใบคำสั่งการรักษาที่ใช้ทั่วไป (common sheet) หรือตำแหน่งกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน (uniform location) ในเวชระเบียนผู้ป่วยจะช่วยในการนำคำสั่งไปปฏิบัติ | คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรช่วยให้บุคลากรเข้าใจความเฉพาะเจาะจงของคำสั่ง เวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่ง และผู้ที่จะนำคำสั่งไปปฏิบัติ | สามารถเขียนคำสั่งในใบคำสั่งการรักษาซึ่งจะนำไปเก็บไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยเป็นระยะหรือเมื่อจำหน่าย หรือคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่บันทึกในระบบอาจจะใช้ในองค์กรที่ใช้เวชระเบียนผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์

แต่ละองค์กรจะต้องตัดสินใจว่า

– คำสั่งประเภทใดที่ต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช้คำสั่งด้วยวาจา
– คำสั่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือภาพวินิจฉัยที่จะต้องระบุเหตุผลหรือข้อบ่งชี้ทางคลินิก
– ข้อยกเว้นในการเขียนคำสั่งการรักษาในลักษณะแวดล้อมพิเศษ เช่น ที่แผนกฉุกเฉินหรือหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤติ
– ผู้ที่มีสิทธิในการเขียนคำสั่ง และ
– ตำแหน่งที่จะเขียนบันทึกคำสั่งในเวชระเบียน (ดูที่ IPSG.2, MMU.4, MMU.4.1, MMU.4.2, MMU.4.3, MOI.10, และ MOI.11)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.2.2
Ο 1. องค์กรกำหนดกระบวนการดูแลผู้ป่วยทุกรายในลักษณะเดียวกัน (uniform process) สำหรับคำสั่งการรักษาผู้ป่วย และนำไปปฏิบัติ
Ο 2. คำสั่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและภาพวินิจฉัย มีข้อมูลเหตุผลหรือข้อบ่งชี้ทางคลินิกเพื่อประกอบการแปลผลเมื่อต้องการ
Ο 3. ผู้ที่มีสิทธิเท่านั้นที่จะเขียนคำสั่ง
Ο 4. คำสั่งได้รับการบันทึกในเวชระเบียนในตำแหน่งที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน


มาตรฐาน COP.2.3
มีการบันทึกการตรวจวินิจฉัยโรคทางคลินิคและหัตถการที่กระทำ และผลลัพธ์ในเวชระเบียนผู้ป่วย

เจตนาของ COP.2.3
การตรวจวินิจฉัยโรคทางคลินิคและหัตถการที่กระทำ และผลลัพธ์ได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น หัตถการและการรักษาดังกล่าวรวมถึง การส่องกล้อง การใส่สายสวนหัวใจ การรักษาด้วยรังสี การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-computerized tomography) หัตถการการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีการที่รุกลํ้าร่างกาย (invasive) และไม่รุกลํ้าร่างกาย (noninvasive) อื่นๆ | มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ร้องขอให้ทำและเหตุผลที่ทำหัตถการ (ดูที่ COP.2.1 และ ASC.7.2)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.2.3
Ο 1. มีการบันทึกหัตถการที่กระทำในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 2. มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ร้องขอให้ทำและเหตุผลที่ทำหัตถการในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 3. มีการบันทึกผลลัพธ์จากการทำหัตถการต่างๆ ในเวชระเบียนผู้ป่วย


COP – การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย | การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง | การรับรู้ของการเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วย | บริการกู้ชีพ | อาหารและโภชนบำบัด | การบำบัดความเจ็บปวด | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ | โปรแกรมปลูกถ่ายอวัยวะบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่