fbpx
WeLoveMed.com

COP การบำบัดความเจ็บปวด

การบำบัดความเจ็บปวด (Pain Management)

มาตรฐาน COP.6
ผู้ป่วยได้รับการบำบัดความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิผล

เจตนาของ COP.6
ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ของผู้ป่วยที่พบได้ทั่วไปและอาจจะเกี่ยวข้องกับสภาวะหรือความเจ็บป่วยสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา | ความเจ็บปวดอาจจะเป็นผลมาจากการรักษาบางขั้นตอนหรือจากการทดสอบ | ส่วนหนึ่งของการวางแผนดูแล ผู้ป่วยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการบำบัดอาการ ขั้นตอนหรือการทดสอบ และทางเลือกการบำบัดความเจ็บปวดที่มี | ความเจ็บปวดที่ไม่ทุเลามีผลเชิงลบต่อร่างกายและจิตใจ | สิทธิผู้ป่วยที่จะได้รับการประเมินและจัดการกับความเจ็บปวดอย่างเหมาะสมได้รับการเคารพและปฏิบัติ (ดูที่ PFR.2.3 และ AOP.1.5)

องค์กรมีกระบวนการในการประเมินและบำบัดความเจ็บปวดอย่างเหมาะสมตามขอบเขตของบริการที่องค์กรจัด ครอบคลุมกระบวนการต่อไปนี้

a) การบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวด ในระหว่างการประเมินเมื่อแรกรับและการประเมินซํ้า
b) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย เกี่ยวกับความเจ็บปวดจากการบำบัดอาการ ขั้นตอนการรักษาหรือการทดสอบ
c) การบำบัดความเจ็บปวด โดยไม่คำนึงถึงที่มาของอาการปวด ตามแนวทางหรือระเบียบวิธี (protocol) และร่วมกับเป้าหมายสำหรับการบำบัดความเจ็บปวดของผู้ป่วย
d) การสื่อสารและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว เกี่ยวกับความเจ็บปวดและการบำบัดอาการ ตามสภาพแวดล้อมของบุคคล วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา และ
e) การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพเกี่ยวกับการประเมินและบำบัดความเจ็บปวด

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.6
Ο 1. องค์กรมีกระบวนการเพื่อบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวด ตามขอบเขตบริการที่องค์กรจัด
Ο 2. ผู้ป่วยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บปวดจากการบำบัดอาการ ขั้นตอนการรักษาหรือการทดสอบ
Ο 3. ผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดได้รับการดูแลตามแนวทางและเป้าหมายของผู้ป่วยในการบำบัดความเจ็บปวด
Ο 4. องค์กรมีกระบวนการสื่อสารและให้ความรู้เรื่องความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ตามขอบเขตบริการที่องค์กรจัด
Ο 5. องค์กรมีกระบวนการให้ความรู้เรื่องความเจ็บปวดแก่บุคลากร ตามขอบเขตบริการที่องค์กรจัด


COP – การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย | การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง | การรับรู้ของการเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วย | บริการกู้ชีพ | อาหารและโภชนบำบัด | การบำบัดความเจ็บปวด | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ | โปรแกรมปลูกถ่ายอวัยวะบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่