fbpx
WeLoveMed.com

COP การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง

การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (Care of High-Risk Patients and Provision of High-Risk Services)

มาตรฐาน COP.3
การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ℗

เจตนาของ COP.3
สถานพยาบาลเป็นสถานที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลาย ซึ่งมีภาวะความต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน | ผู้ป่วยบางรายจัดเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจาก อายุ อาการ หรือธรรมชาติของภาวะความต้องการที่มีความวิกฤต | เด็กและผู้สูงอายุมักจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้เนื่องจากมักจะไม่สามารถพูดแสดงความต้องการของตนเอง ไม่เข้าใจกระบวนการดูแล และไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสำหรับตนเอง | ทำนองเดียวกันกับผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความหวาดกลัว สับสน หรือไม่รู้สึกตัว ซึ่งไม่สามารถเข้าใจกระบวนการดูแล ขณะที่ต้องให้การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สถานพยาบาลยังให้บริการที่หลากหลาย บริการบางอย่างจัดว่ามีความเสี่ยงสูงเนื่องจากต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนเพื่อรักษาภาวะที่คุกคามต่อชีวิต (ผู้ป่วยฟอกไต) ธรรมชาติของการรักษา (ผู้ป่วยที่ได้รับการประคองชีวิต) โอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (การผูกมัด) หรือผลที่เป็นพิษจากยาที่มีความเสี่ยงสูงบางตัว (เช่น ยาเคมีบำบัด)

นโยบายและระเบียบปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้บุคลากรเข้าใจผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ และตอบสนองอย่างระมัดระวัง ด้วยความเชี่ยวชาญ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน | ผู้นำมีหน้าที่รับผิดชอบในการ:

– ระบุผู้ป่วยและบริการที่จัดว่ามีความเสี่ยงสูงของสถานพยาบาล
– จัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยใช้กระบวนการที่ร่วมมือกัน และ
– ฝึกอบรมบุคลากรในการนำนโยบายและระเบียบปฏิบัติไปใช้

นโยบายและระเบียบปฏิบัติจะต้องได้รับการปรับให้เหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะหรือบริการเฉพาะที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง | เป็นสิ่งสำคัญมากที่นโยบายและวิธีปฏิบัติจะต้องระบุสิ่งต่อไปนี้

a) วิธีการวางแผน รวมถึงการบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่กับเด็ก หรือข้อพิจารณาพิเศษอื่นๆ
b) สิ่งที่ต้องบันทึกเพื่อให้ทีมดูแลผู้ป่วยสามารถทำงานและสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
c) ข้อพิจารณาในการขอความยินยอมเป็นการเฉพาะ ตามความเหมาะสม
d) ข้อกำหนดในการติดตามประเมินผู้ป่วย
e) คุณสมบัติหรือทักษะพิเศษของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดูแล และ
f) ความพร้อมและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์พิเศษ

องค์กรจัดทำและนำบริการผู้ป่วยเมื่อทำหน้าที่บริการผู้ป่วยและให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง ไปปฏิบัติ (ดูที่ PCI.8 และ PCI.8.1) | บริการมีความเสี่ยงสูงสำหรับ

a) ผู้ป่วยฉุกเฉิน
b) ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
c) ผู้ป่วยที่ได้รับการประคองชีวิต (life support)
d) การดูแลผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ
e) การดูแลผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานตํ่า
f) การดูแลผู้ป่วยฟอกไต (dialysis)
g) การดูแลผู้ป่วยที่ถูกผูกยึด
h) การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด และ
i) การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ เด็กและผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกกระทำทารุณ

มีการบริการผู้ป่วยเพิ่มเติมแสดงให้เห็นจากประชากรผู้ป่วยและบริการที่มีให้

ผู้นำโรงพยาบาลระบุความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากหัตถการหรือการวางแผนการดูแล (ตัวอย่างเช่น ความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ แผลกดทับ การติดเชื้อจากเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการประคองชีวิต การได้รับบาดเจ็บทางระบบประสาทและการไหลเวียนเลือดในผู้ป่วยที่ถูกผูกยึด การสัมผัสเลือดในผู้ป่วยล้างไต การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง (central line) และการหกล้ม) | ความเสี่ยงดังกล่าว เมื่อมีอยู่ จำเป็นต้องได้รับการระบุและป้องกันโดยการให้ความรู้แก่บุคลากร และจัดทำนโยบาย แนวทาง และระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างเหมาะสม (ดูที่ PFR.5.2) | องค์กรใช้สารสนเทศเพื่อวัดและประเมินการบริการกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและรวมสารสนเทศกับโปรแกรมการปรับปรุงคุณภาพโดยรวมขององค์กร

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.3
Ο 1. ผู้นำองค์กรระบุผู้ป่วยและการบริการที่มีความเสี่ยงสูง
Ο 2. มีการนำนโยบายและระเบียบปฏิบัติไปใช้ในการบริการและการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อย่างน้อยตามองค์ประกอบข้อ a) ถึง i) ในหัวข้อเจตนา (ดูที่ MOI.10.1, ME 4)
Ο 3. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมและใช้นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการดูแล
Ο 4. ผู้นำองค์กรระบุความเสี่ยงเพิ่มเติมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง
Ο 5. การประเมินการบริการที่มีความเสี่ยงสูงรวมอยู่ในโปรแกรมการปรับปรุงคุณภาพโดยรวมขององค์กร


COP – การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย | การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง | การรับรู้ของการเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วย | บริการกู้ชีพ | อาหารและโภชนบำบัด | การบำบัดความเจ็บปวด | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ | โปรแกรมปลูกถ่ายอวัยวะบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่