fbpx
WeLoveMed.com

QPS การบรรลุและคงไว้ซึ่งการพัฒนา

การบรรลุและคงไว้ซึ่งการพัฒนา (Gaining and Sustaining Improvement)

มาตรฐาน QPS.10
มีการบรรลุผลและคงไว้ซึ่งการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย

เจตนาของ QPS.10
องค์กรใช้สารสนเทศจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุโอกาสพัฒนาหรือโอกาสลด (หรือป้องกัน) เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ | ข้อมูลจากการวัดในงานประจำ และข้อมูลจากการประเมินในลักษณะเจาะลึก มีส่วนต่อการรับรู้และเข้าใจว่าควรวางแผนการพัฒนาที่จุดใด และควรจัดความสำคัญให้กับการพัฒนาเรื่องอะไร | มีการวางแผนการพัฒนาสำหรับการเก็บข้อมูลสำคัญที่ผู้นำระบุ

มีการเก็บข้อมูลในระยะทดลองตามแผนที่วางไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแผนเกิดขึ้นจริง | มีการเก็บข้อมูลเฝ้าติดตามและนำไปวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนานั้นยังคงอยู่ | การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลได้รับการนำไปบรรจุไว้ในระเบียบปฏิบัติงานมาตรฐาน (standard operating procedure) และให้ความรู้ที่จำเป็นแก่บุคลากร | องค์กรบันทึกการพัฒนาที่บรรลุความสำเร็จและคงไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมบริหารและพัฒนาคุณภาพ (ดูที่ GLD.11, ME 4)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ QPS.10
Ο 1. องค์กรวางแผนและดำเนินการพัฒนาในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย
Ο 2. มีข้อมูลแสดงให้ทราบว่าการพัฒนานั้นได้ผลและยั่งยืน (ดูที่ GLD.11, ME 3)
Ο 3. มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จำเป็นเพื่อวางแผนการพัฒนา นำไปดำเนินการ และทำให้การพัฒนานั้นยั่งยืน
Ο 4. องค์กรบันทึกการพัฒนาที่บรรลุความสำเร็จ


มาตรฐาน QPS.11
มีการใช้โปรแกรมบริหารความเสี่ยงที่ต่อเนื่องเพื่อบ่งชี้และลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ไม่คาดคิด และความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอื่นๆ ของผู้ป่วยและบุคลากร

เจตนาของ QPS.11
องค์กรจำเป็นต้องนำวิธีการบริหารความเสี่ยงเชิงรุกมาใช้ | วิธีการหนึ่งคือโปรแกรมบริหารความเสี่ยงที่มีแบบแผนซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเป็นประกอบด้วย

a) การระบุความเสี่ยง
b) การจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง
c) การรายงานความเสี่ยง
d) การจัดการความเสี่ยง
e) การสอบสวนเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และ
f) การจัดการกับการเรียกร้องที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารความเสี่ยงคือการวิเคราะห์ความเสี่ยง เช่นกระบวนการที่ใช้ประเมินเหตุการณ์เกือบพลาดและกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ ซึ่งหากมีความผิดพลาดจะทำให้เกิดอุบัติการณ์รุนแรง | เครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยวิเคราะห์ในเชิงรุกถึงผลที่จะเกิดตามมาจากกระบวนการวิกฤติ มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ – FMEA (failure mode and effects analysis) | องค์กรสามารถบ่งชี้และใช้เครื่องมือที่คล้ายคลึงกันเพื่อระบุและลดความเสี่ยง เช่น การวิเคราะห์ความล่อแหลมต่อการเกิดอันตราย (hazard vulnerability analysis)

การที่จะใช้เครื่องมือนี้หรือเครื่องมือที่คล้ายคลึงกันอย่างมีประสิทธิผล ผู้นำองค์กรต้องยอมรับและเรียนรู้แนวทางการใช้เครื่องมือดังกล่าว ให้ความเห็นชอบบัญชีรายการกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงเมื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและบุคลากร และใช้เครื่องมือดังกล่าวกับกระบวนการเสี่ยงที่สำคัญ (priority risk process) | หลังจากการวิเคราะห์ผล ผู้นำองค์กรดำเนินการเพื่อให้มีการปรับการออกแบบ (redesign) กระบวนการหรือปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกันเพื่อลดความเสี่ยงในกระบวนการ | มีการดำเนินการตามกระบวนการลดความเสี่ยงในลักษณะนี้อย่างน้อยปีละครั้งและบันทึกไว้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ QPS.11
Ο 1. องค์กรมีกรอบความคิดการบริหารความเสี่ยงซึ่งมีข้อ a) ถึง f) ในหัวข้อเจตนา
Ο 2. องค์กรดำเนินการและบันทึกการใช้เครื่องมือลดความเสี่ยงในเชิงรุก อย่างน้อยหนึ่งกระบวนการเสี่ยงที่สำคัญในแต่ละปี
Ο 3. มีการปรับการออกแบบ (redesign) กระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล


QPS – การจัดการกิจกรรมคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย | การเลือกตัววัดและการเก็บข้อมูล | การยืนยันความถูกต้องและการวิเคราะห์ข้อมูลการวัดผล | การบรรลุและคงไว้ซึ่งการพัฒนา