fbpx
WeLoveMed.com

PFR การบริจาคอวัยวะ

การบริจาคอวัยวะ (Organ Donation)

หมายเหตุ: มาตรฐานต่อไปนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ซึ่งการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อไม่เกิดขึ้น แต่เป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยขอข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ และ/หรือ เมื่อการบริจาคอวัยวะหรือเนื้อเยื่ออาจเกิดขึ้น เมื่อมีการบริจาคและปลูกถ่ายเกิดขึ้น ให้ใช้มาตรฐานสำหรับโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ (ดูใน COP.8 ถึง COP.9.3)

มาตรฐาน PFR.6
องค์กรให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ

มาตรฐาน PFR.6.1
องค์กรจัดให้มีการกำกับดูแลการผ่าตัดรับอวัยวะและเนื้อเยื่อ ℗

เจตนาของ PFR.6 และ PFR.6.1
ปัญหาความขาดแคลนของอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายได้สนับสนุนให้หลายประเทศพัฒนากระบวนการและระบบเพื่อเพิ่มปริมาณ | ในบางประเทศ กฎหมายกำหนดให้ทุกคนเป็นผู้บริจาค ยกเว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (สันนิษฐานได้ว่าได้รับความยินยอม) | ในบางประเทศ จำเป็นต้องมีการยินยอมอย่างชัดเจนสำหรับการบริจาคอวัยวะ | องค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการกำหนดขั้นตอนการได้รับและบันึกความยินยอมสำหรับเซลล์ เนื้อเยื่อ และการบริจาคอวัยวะโดยสัมพันธ์กับมาตรฐานทางจริยธรรมระหว่างประเทศและในลักษณะที่การจัดหาอวัยวะดำเนินการในประเทศ | องค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบให้มีการใช้มาตรการควบคุมเพียงพอเพื่อป้องกันมิให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกกดดันให้ต้องบริจาค

องค์กรสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัวในการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อเพื่อการวิจัยหรือเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ | มีการให้สารสนเทศเกี่ยวกับกระบวนการบริจาค และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่องค์กรเป็นสถานที่จัดหาอวัยวะสำหรับเครือข่ายหรือองค์กรจัดหาอวัยวะของชุมชน เขต หรือประเทศ

ปัญหาความขาดแคลนของอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายส่งผลให้มีคำถามในทางปฏิบัติในการจัดหาและปลูกถ่ายอวัยวะ | การปฏิบัติของการกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงของบุคคลหรือกลุ่ม (เช่น ผู้ไม่มีการศึกษาและคนยากจน ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารการเข้าเมือง นักโทษ และ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ) ที่จะเป็นผู้บริจาคอวัยวะ การค้าอวัยวะ (การซื้อขายอวัยวะในตลาดมืด) การผ่าตัดอวัยวะจากนักโทษประหารหรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตโดยไม่ได้รับความยินยอม และการปลูกถ่ายที่ไม่มีความสม่ำเสมอเพื่อให้ความมั่นใจว่าผู้บริจาคอวัยวะและผู้รับมีความปลอดภัย

มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติเป็นแนวทางสำหรับกระบวนการจัดหาและบริจาค ที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ และเคารพคุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชน สร้างความมั่นใจของการปฏิบัติทางจริยธรรม และระบุข้อกำหนดสำหรับการขอความยินยอม | บุคลากรขององค์กรได้รับการฝึกอบรมในการปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัว | บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับข้อกังวลและประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะและความพร้อมของการปลูกถ่ายอวัยวะ | องค์กรร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ ในชุมชนที่รับผิดชอบกระบวนการทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดหา เก็บรักษา ขนส่ง และปลูกถ่ายอวัยวะ (ดูที่ COP.9)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ PFR.6
Ο 1. องค์กรสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัวในการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่นๆ
Ο 2. องค์กรให้ข้อมูลเพื่อเป็นสารสนเทศแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในขั้นตอนการบริจาค
Ο 3. องค์กรให้ข้อมูลเพื่อเป็นสารสนเทศแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการจัดหาอวัยวะ
Ο 4. องค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบให้มีการใช้มาตรการควบคุมเพียงพอเพื่อป้องกันมิให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกกดดันให้ต้องบริจาค

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ PFR.6.1
Ο 1. องค์กรกำหนดขั้นตอนการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการมีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ และคุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรม
Ο 2. องค์กรระบุข้อกำหนดสำหรับการขอความยินยอมและจัดทำกระบวนการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดนั้น
Ο 3. บุคลากรได้รับการฝึกอบรมในประเด็นและข้อกังวลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ และความพร้อมในการปลูกถ่ายอวัยวะ
Ο 4. องค์กรร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในชุมชน ในการเคารพและนำการตัดสินใจบริจาคไปปฏิบัติ


PFR – PFR.1-PFR.4 | การยินยอมทั่วไป | การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว | การบริจาคอวัยวะ