fbpx
WeLoveMed.com

PFR การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว

การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว (Informed Consent)

มาตรฐาน PFR.5.1
การขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว เป็นไปตามกระบวนการที่องค์กรกำหนด และดำเนินการโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ ℗

เจตนาของ PFR.5.1
วิธีการหลักวิธีหนึ่งที่ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาของตนคือการให้ความยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว | ผู้ป่วยต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาที่วางแผนไว้ ก่อนที่จะตัดสินใจยินยอมรับการรักษา | การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวอาจเกิดขึ้นที่จุดต่างๆ ระหว่างกระบวนการดูแลรักษา | เช่น เมื่อรับไว้เป็นผู้ป่วยใน และก่อนที่จะมีการทำหัตถการหรือการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง | องค์กรกำหนดกระบวนการขอความยินยอมไว้อย่างชัดเจนในนโยบายและระเบียบปฏิบัติ | โดยนำเอากฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเข้ามารวมไว้ด้วย

ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลว่าการตรวจทดสอบ หัตถการ และการรักษาอะไรบ้างที่จะต้องมีการให้ความยินยอมก่อน รวมทั้งวิธีการที่จะให้ความยินยอม (เช่น การยินยอมด้วยวาจา การลงนามในแบบฟอร์ม หรือด้วยวิธีอื่นๆ) | การให้ความรู้โดยบุคลากรของโรงพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการได้รับการยินยอมโดยการบอกกล่าวสำหรับการรักษา (เช่น สำหรับศัลยกรรมและระงับความรู้สึก)

ผู้ป่วยและครอบครัวรับทราบว่ามีบุคคลอื่นใดนอกจากผู้ป่วยที่สามารถให้ความยินยอมได้ | บุคลากรที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ขอความยินยอม ได้รับการฝึกอบรมในการให้ข้อมูล การขอความยินยอม และการบันทึกความยินยอมของผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ PFR.5.1
Ο 1. องค์กรกำหนดกระบวนการขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวไว้อย่างชัดเจนในนโยบายและระเบียบปฏิบัติ
Ο 2. บุคลากรที่ได้รับมอบหมายได้รับการฝึกอบรมในการปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติ
Ο 3. ผู้ป่วยเรียนรู้กระบวนการขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้
Ο 4. ผู้ป่วยให้ความยินยอมหลังได้รับการบอกกล่าวตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้
Ο 5. มีการบันทึกข้อมูลการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวที่เป็นแนวทางเดียวกัน


มาตรฐาน PFR.5.2
มีการขอการยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว ก่อนการผ่าตัด การระงับความรู้สึก การใช้เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด และการรักษาหรือการทำหัตถการที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ

เจตนาของ PFR.5.2
เมื่อแผนการดูแลประกอบด้วยการผ่าตัดหรือการทำหัตถการที่ผ่านเข้าร่างกาย การระงับความรู้สึก (รวมถึงการกดประสาทระดับกลางและระดับลึก) การใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือการรักษาที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ จะมีการขอความยินยอมแยกต่างหาก (ดูที่ ASC.3, ASC.3.3, ASC.5.1 และ ASC.7.1) | กระบวนการขอความยินยอมนี้มีการให้สารสนเทศที่ระบุไว้ใน PFR.5.3 และบันทึกชื่อบุคคลของผู้ที่ให้สารสนเทศดังกล่าว (ดูที่ COP.8.5 และ COP.9.1)

ไม่จำเป็นที่จะต้องขอความยินยอมเฉพาะแยกออกไปสำหรับการรักษาและหัตถการทุกอย่าง | แต่ละองค์กรจะกำหนดหัตถการและการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดปัญหามาก หรือหัตถการและการรักษาอื่นๆ ที่จะต้องขอความยินยอมเป็นการเฉพาะ (ดูที่ COP.3) | องค์กรจัดทำบัญชีรายการหัตถการและการรักษาเหล่านี้ และให้ความรู้แก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการขอความยินยอมมีความคงเส้นคงวาสอดคล้องกันทั้งองค์กร | การจัดทำบัญชีรายการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างแพทย์และบุคลากรอื่นๆ ที่ให้การรักษาหรือทำหัตถการ | บัญชีรายการดังกล่าวครอบคลุมหัตถการและการรักษาที่ให้แก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ PFR.5.2
Ο 1. การขอความยินยอมกระทำก่อนการผ่าตัดหรือการทำหัตถการที่ผ่านเข้าร่างกาย
Ο 2. การขอความยินยอมกระทำก่อนการระงับความรู้สึก (รวมถึงการกดประสาทระดับกลางและระดับลึก)
Ο 3. การขอความยินยอมกระทำก่อนการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
Ο 4. องค์กรจัดทำบัญชีรายการหัตถการและการรักษาเพิ่มเติมที่จะต้องขอความยินยอมเป็นการเฉพาะ
Ο 5. การขอความยินยอมกระทำก่อนการทำหัตถการหรือการรักษาที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ
Ο 6. มีการระบุชื่อบุคคลที่เป็นผู้ให้สารสนเทศแก่ผู้ป่วยและครอบครัวไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย


มาตรฐาน PFR.5.3
ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับสารสนเทศเพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจได้ เกี่ยวกับสภาวะการเจ็บป่วย การรักษาที่จะเกิดขึ้น และผู้ประกอบวิชาชีพที่จะให้การดูแล

เจตนาของ PFR.5.3
บุคลากรอธิบายอย่างชัดเจนถึงการรักษาหรือหัตถการที่จะเกิดขึ้นให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว | สารสนเทศที่ให้นี้รวมถึง

a) สภาพอาการของผู้ป่วย
b) การรักษาที่จะเกิดขึ้น
c) ชื่อบุคคลที่จะให้การรักษา
d) ประโยชน์และผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
e) ทางเลือกที่เป็นไปได้
f) โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
g) ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงการฟื้นตัว และ
h) ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของการไม่รักษา

บุคลากรให้ข้อมูลชื่อแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแล หรือได้รับมอบหมายให้กระทำหัตถการหรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วย | บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากผู้ให้บริการปฐมภูมิ ระยะเวลาที่จะต้องรับการดูแลในองค์กร และอื่นๆ | องค์กรต้องมีกระบวนการที่จะตอบสนองเมื่อผู้ป่วยขอสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ให้บริการปฐมภูมิ

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ PFR.5.3
Ο 1. ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในองค์ประกอบข้อ a) ถึง h) ที่เกี่ยวกับสภาวะการเจ็บป่วยของตนและการรักษาตามแผน
Ο 2. ผู้ป่วยรู้ชื่อแพทย์หรือผู้ให้บริการอื่นที่รับผิดชอบดูแลตน
Ο 3. มีกระบวนการที่จะตอบสนองคำขอสารสนเทศเพิ่มเติมโดยผู้ป่วย เกี่ยวกับผู้ให้บริการที่รับผิดชอบดูแลตน


มาตรฐาน PFR.5.4
องค์กรจัดให้มีกระบวนการสำหรับกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ป่วยจะสามารถให้ความยินยอมได้ ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางกฎหมายและวัฒนธรรมที่มีอยู่

เจตนาของ PFR.5.4
บางครั้ง การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว อาจต้องให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจ (หรือตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วย) | กรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเมื่อผู้ป่วยไม่มีความสามารถทางจิตใจหรือร่างกายที่จะตัดสินใจได้ เมื่อวัฒนธรรมหรือประเพณีกำหนดให้ผู้อื่นทำหน้าที่ตัดสินใจ หรือเมื่อผู้ป่วยเป็นเด็ก | เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาของตนเองได้ จะต้องมีการระบุผู้ที่จะตัดสินใจแทน | เมื่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ป่วยเป็นผู้ให้ความยินยอม จะต้องมีการบันทึกข้อมูลบุคคลนั้นไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ PFR.5.4
Ο 1. องค์กรมีกระบวนการสำหรับกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ป่วยจะให้การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว
Ο 2. กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย วัฒนธรรม และธรรมเนียมปฏิบัติ
Ο 3. มีการบันทึกข้อมูลบุคคลที่ให้การยินยอมแทนผู้ป่วยไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย


PFR – PFR.1-PFR.4 | การยินยอมทั่วไป | การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว | การบริจาคอวัยวะ