fbpx
WeLoveMed.com

MMU การคัดเลือกและการจัดหายา

การคัดเลือกและการจัดหายา (Selection and Procurement)

มาตรฐาน MMU.2
มียาที่ได้รับการเลือกอย่างเหมาะสมสำหรับการสั่งใช้ เก็บไว้ในคลังยาหรือพร้อมให้บริการ และองค์กรสามารถจัดหายาที่ไม่มีในคลังยาหรือไม่มีใช้ปกติในองค์กร หรือในเวลาที่ห้องยาปิด ℗

เจตนาของ MMU.2
ทุกองค์กรจะต้องตัดสินใจว่าจะมียาอะไรพร้อมสำหรับการสั่งใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพ. การตัดสินใจนี้ขึ้นกับเป้าหมายขององค์กร ภาวะความต้องการของผู้ป่วย และประเภทของบริการที่มีอยู่ | องค์กรจัดทำบัญชีรายชื่อบัญชียาทั้งหมด (มักจะเรียกว่าตำรับยา – formulary) ที่จะเก็บสำรองในคลังหรือพร้อมที่จะจัดหาจากแหล่งภายนอก | ในบางกรณี กฎหมายและระเบียบข้อบังคับจะกำหนดรายการยาในบัญชีหรือแหล่งของยาเหล่านั้น | การเลือกยาเป็นกระบวนการที่อาศัยความร่วมมือซึ่งพิจารณาภาวะความต้องการและความปลอดภัยของผู้ป่วยร่วมกับประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ | บางกรณีอาจจะมียาขาดคลังเนื่องจากการจัดส่งที่ช้า การขาดแคลนทั้งประเทศ หรือเหตุผลอื่นที่มิได้คาดคิดในการควบคุมคลังยาแบบปกติ | มีกระบวนการที่แจ้งให้ผู้สั่งใช้ยาทราบถึงความขาดแคลนและยาที่สามารถใช้ทดแทนได้

ในบางครั้ง มีความจำเป็นต้องใช้ยาที่ไม่มีในคลังหรือไม่มีที่แหล่งอื่น | องค์กรมีกระบวนการอนุมัติและจัดหายาดังกล่าว. นอกจากนั้น มีบางครั้งที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาในเวลากลางคืน หรือเมื่อห้องยาปิด หรือเมื่อมีการล็อคตู้เก็บยา | แต่ละองค์กรต้องวางแผนรองรับสำหรับกรณีเหล่านี้ และให้ความรู้แก่บุคลากรถึงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดความต้องการที่จำเป็นดังกล่าว (ดูที่ MMU.3.2, ME 1)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MMU.2
Ο 1. มีบัญชีรายการยาที่มีอยู่ในคลังขององค์กร หรือพร้อมที่จะจัดหาจากแหล่งภายนอก
Ο 2. มีกระบวนการจัดทำบัญชียาด้วยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง (ยกเว้นเมื่อถูกกำหนดจากระเบียบข้อบังคับ หรือผู้มีอำนาจจากนอกองค์กร)
Ο 3. มีกระบวนการที่จะเบิกยาเมื่อห้องยาปิด หรือมีการล็อคตู้เก็บยา


มาตรฐาน MMU.2.1
มีวิธีกำกับดูแลบัญชียาขององค์กรและการใช้ยา

เจตนาของ MMU.2.1
องค์กรมีวิธีการธำรงไว้และเฝ้าติดตามบัญชียา และควบคุมการใช้ยาในองค์กร เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ |  ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลบัญชียาประกอบด้วยผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสั่งใช้ จัดจ่าย บริหาร และเฝ้าติดตามการใช้ยา | การตัดสินใจนำยาเข้าหรือออกจากบัญชีรายการยาเป็นไปตามเกณฑ์ซึ่งประกอบด้วย ข้อบ่งชี้ในการใช้ ประสิทธิผล ความเสี่ยงและราคา | มีกระบวนการหรือกลวิธีในการเฝ้าติดตามการตอบสนองของผู้ป่วยในการใช้ยาใหม่ที่เพิ่มเข้ามา | ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตัดสินใจในการเพิ่มยาประเภทใหม่ หรือกลุ่มใหม่ในบัญชียา จะมีกระบวนการเฝ้าติดตามความเหมาะสมเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ วิธีการสั่งใช้ (ขนาดหรือวิธีให้) และเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือสถานการณ์เกี่ยวกับยาใหม่ระหว่างช่วงการแนะนำยา

บัญชียาได้รับการทบทวนอย่างน้อยปีละครั้งขึ้นกับสารสนเทศความปลอดภัยและประสิทธิพลัง/การก่อผล (efficacy) ที่ปรากฏขึ้นใหม่ สารสนเทศการใช้ยาและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ | ในการจัดการด้านยาในภาพรวม ต้องสร้างความมั่นใจว่ายาได้รับการป้องกันจากการสูญหายหรือการโจรกรรมจากห้องยา หรือสถานที่อื่นที่ใช้ในการเก็บหรือจ่ายยา | มีการทบทวนบัญชียาอย่างน้อยปีละครั้ง บนพื้นฐานของสารสนเทศความปลอดภัยที่ปรากฏขึ้นและการก่อผลและสารสนเทศที่แสดงการใช้ยาและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MMU.2.1
Ο 1. มีวิธีการกำกับดูแลการใช้ยาในองค์กร
Ο 2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสั่งใช้ จัดจ่าย บริหาร และเฝ้าติดตามผู้ป่วย มีส่วนร่วมในการประเมินและคงไว้ซึ่งบัญชียา
Ο 3. การตัดสินใจนำยาเข้าหรือออกจากบัญชียาเป็นไปตามเกณฑ์
Ο 4. มีกระบวนการหรือกลไกในการเฝ้าติดตามวิธีการใช้ยาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เมื่อมีการเพิ่มยาใหม่ในบัญชียา
Ο 5. มีการทบทวนบัญชียาอย่างน้อยปีละครั้ง บนพื้นฐานของสารสนเทศความปลอดภัยและ การก่อผล


MMU – การจัดระบบและการจัดการ | การคัดเลือกและการจัดหายา | การเก็บรักษายา | การสั่งยาและถ่ายทอดคำสั่ง  | การเตรียมยาและจัดจ่ายยา | การบริหารยา | การเฝ้าติดตามการใช้ยา