fbpx
WeLoveMed.com

IPSG เป้าหมาย 1: ระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง

เป้าหมาย 1: ระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง (Goal 1: Identify Patients Correctly)

มาตรฐาน IPSG.1
องค์กรจัดทำแนวทางเพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการระบุตัวผู้ป่วย และนำไปปฏิบัติ ℗

เจตนาของ IPSG.1
ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการระบุผู้ป่วยผิดคนเกิดขึ้นได้ในทุกลักษณะของการตรวจวินิจฉัยและการรักษา | ผู้ป่วยอาจจะได้รับยากล่อมประสาท รู้สึกสับสน หรือตื่นไม่เต็มที่ อาจจะเปลี่ยนเตียง เปลี่ยนห้อง หรือเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ในโรงพยาบาล อาจไร้ความสามารถในการรับรู้ หรืออาจจะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่จะนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนในการระบุที่ถูกต้อง | เจตจำนงของเป้าหมายนี้มีสองชั้น: ชั้นแรก เพื่อระบุตัวบุคคลที่ตั้งใจจะให้บริการหรือการรักษาได้ถูกต้องน่าเชื่อถือ ชั้นที่สอง เพื่อให้บริการหรือการรักษาที่สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลนั้น

นโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติกำหนดให้ใช้อย่างน้อย 2 วิธีในการระบุตัวผู้ป่วย เช่น ชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย เลขที่บัตรประชาชน วัน/เดือน/ปีเกิด ป้ายข้อมือที่มีบาร์โคด หรือวิธีการอื่นๆ | หมายเลขห้องของผู้ป่วยหรือตำแหน่งที่ผู้ป่วยอยู่ไม่สามารถใช้เพื่อการระบุตัวผู้ป่วยได้ | นโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติระบุชัดเจนในการใช้ตัวบ่งชี้ 2 ตัวที่แตกต่างกันในสถานที่ที่แตกต่างกันภายในองค์กร เช่น หน่วยดูแลผู้ป่วยหรือบริการผู้ป่วยนอก แผนกฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด แผนกวินิจฉัย และอื่นๆ ที่คล้ายกัน

นโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติ 2 วิธีที่แตกต่างกันเพื่อให้มั่นใจว่าครอบคลุมสถานการณ์เกี่ยวกับการระบุตัวผู้ป่วยที่เป็นไปได้ทั้งหมด เช่น กระบวนการที่ใช้ระบุตัวผู้ป่วย (เช่น เมื่อมีการบริหารยา ให้เลือดหรือองค์ประกอบของเลือด การจำกัดอาหาร หรือการให้การรักษาด้วยรังสี)  ทำหัตถการ (เช่น การแทรกสายหลอดเลือดดำหรือฟอกเลือด) และก่อนขั้นตอนการวินิจฉัย (เช่น เจาะเลือดและเก็บสิ่งส่งตรวจสำหรับตรวจวิเคราะห์ทางคลินิก หรือการสวนหัวใจ หรือกระบวนการรังสีวินิจฉัย) | มีการกำหนดวิธีการระบุตัวผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นใคร

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ IPSG.1
Ο 1. ผู้ป่วยได้รับการระบุตัวโดยใช้ตัวบ่งชี้ 2 ตัว ไม่รวมถึงการใช้หมายเลขห้องหรือตำแหน่งที่ผู้ป่วยอยู่
Ο 2. ผู้ป่วยได้รับการระบุตัวก่อนการให้การรักษาและทำหัตถการต่างๆ
Ο 3. ผู้ป่วยได้รับการระบุตัวก่อนการตรวจวิเคราะห์ (ดูที่ AOP.5.7, ME 2)


IPSG – ระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง | เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร | ความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง | สร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน | ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ | ลดความเสี่ยงของอันตรายต่อผู้ป่วยจากการพลัดตกหกล้ม