fbpx
WeLoveMed.com

IPSG เป้าหมาย 4: สร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน

เป้าหมาย 4: สร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน (Goal 4: Ensure Correct-Site, Correct-Procedure, Correct-Patient Surgery)

มาตรฐาน IPSG.4
องค์กรจัดทำแนวทางเพื่อสร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน และนำไปปฏิบัติ ℗

มาตรฐาน IPSG.4.1
องค์กรจัดทำแนวทางเพื่อกำหนดการขอเวลานอกในห้องผ่าตัดก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัดเพื่อให้มั่นใจการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ และถูกคน และนำไปปฏิบัติ ℗

เจตนาของ IPSG.4 ถึง IPSG.4.1
การผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ ผิดคน เป็นเหตุการณ์ที่พบบ่อยในสถานพยาบาลที่น่าตกใจ | ความผิดพลาดเหล่านี้เป็นผลมาจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงพอระหว่างสมาชิกในทีมผ่าตัด ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการทำเครื่องหมายระบุตำแหน่ง และขาดขั้นตอนปฏิบัติในการยืนยันตำแหน่งที่จะผ่าตัด | ยิ่งไปกว่านั้น การประเมินผู้ป่วยที่ไม่เพียงพอ การทบทวนเวชระเบียนที่ไม่เพียงพอ วัฒนธรรมที่ไม่เอื้อให้สื่อสารอย่างเปิดเผยระหว่างสมาชิกในทีมผ่าตัด ปัญหาที่เกี่ยวกับลายมือที่อ่านไม่ออก/อ่านยาก และการใช้คำย่อ เหล่านี้เป็นปัจจัยร่วมที่พบบ่อย

นโยบายดังกล่าวรวมถึงคำจำกัดความของการผ่าตัดและการใส่อุปกรณ์เข้าร่างกายซึ่งรวมเอาหัตถการที่ใช้สืบค้น และ/หรือ รักษาโรคและความผิดปกติของร่างกายด้วยการตัด เอาออก ปรับเปลี่ยน หรือสอดใส่กล้องเพื่อการวินิจฉัย/รักษา | นโยบายดังกล่าวใช้กับทุกสถานที่ในองค์กรซึ่งมีการทำหัตถการเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ แผนกรังสีวิทยา ห้องปฏิบัติการระบบทางเดินอาหาร และที่คล้ายๆ กัน | องค์กรใช้วิธีการนี้เพื่อให้มั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน นำไปใช้กับทุกพื้นที่ขององค์กรซึ่งหัตถการผ่าตัดและการใส่อุปกรณ์เข้าร่างกายเกิดขึ้น

การปฏิบัติที่อิงหลักฐาน (evidence-based practices) ได้อธิบายไว้ใน The Joint Commission’s Universal Protocol for Preventing Wrong Site, Wrong Procedure, Wrong Person Surgery ™

กระบวนการสำคัญที่ระบุไว้ใน Universal Protocol คือ
– การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่จะผ่าตัด
– กระบวนการสอบทานก่อนการผ่าตัด
– การขอเวลานอกเพื่อยืนยันขั้นสุดท้าย ซึ่งทำทันทีก่อนเริ่มทำหัตถการ

การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่จะผ่าตัด ทำโดยผู้ป่วยมีส่วนร่วมและทำด้วยเครื่องหมายที่ชัดเจนเข้าใจได้โดยทันที | การทำเครื่องหมายควรสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร ควรทำโดยบุคคลที่จะทำหัตถการ ถ้าเป็นไปได้ควรจะทำในขณะที่ผู้ป่วยตื่นดีและมีสติ และจะต้องเห็นได้ภายหลังที่ทำความสะอาดผิวหนังและปูผ้าคลุมผ่าตัดแล้วถ้าเป็นไปได้ | การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่จะผ่าตัดควรทำในทุกรายที่การผ่าตัดนั้นเกี่ยวข้องกับข้างซ้ายข้างขวา มีโครงสร้างเชิงซ้อน (นิ้วมือ นิ้วเท้า รอยโรค) หรือมีหลายระดับ (กระดูกสันหลัง)

เป้าหมายของกระบวนการสอบทานก่อนการผ่าตัดคือเพื่อ
– สอบทานความถูกต้องของตำแหน่ง หัตถการ และตัวผู้ป่วย
– สร้างความมั่นใจว่ามีเอกสาร ภาพวินิจฉัย และผลการตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพร้อม มีการเขียนชื่อและป้ายเหมาะสม และนำแสดงให้เห็น
– สอบทานว่ามีเครื่องมืออุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์พิเศษ และ/หรือ สิ่งที่ต้องสอดใส่เข้าไปในร่างกายที่ต้องการ

มีองค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการตรวจสอบก่อนการผ่าตัด ที่สามารถจะแล้วเสร็จก่อนที่ผู้ป่วยมาถึงที่พื้นที่ก่อนการผ่าตัด – เช่น การมั่นใจในบันทึก ผลการทดสอบและถ่ายภาพ และเอกสารต่างๆ ถูกระบุโดยฉลากและมีอยู่ และมีเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่จะผ่าตัด | ในความเป็นจริงการรอจนกระทั่งการขอเวลานอกสำหรับกระบวนการตรวจสอบก่อนผ่าตัดจนเสร็จสมบูรณ์อาจทำให้การผ่าตัดล่าช้าโดยไม่จำเป็น ถ้างานเอกสารหรือภาพถ่ายไม่ได้ถูกระบุโดยฉลากหรือมีอยู่ก่อนเริ่มผ่าตัด | เป็นไปได้ว่าบางส่วนของการตรวจสอบก่อนผ่าตัดอาจเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งและมากกว่าหนึ่งสถานที่ | ตัวอย่างเช่น การให้ความยินยอมผ่าตัดอาจจะได้รับในสำนักงานศัลยแพทย์และตรวจสอบว่าเสร็จสมบูรณ์เกิดขึ้นที่บริเวณก่อนการผ่าตัด การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งผ่าตัดอาจเกิดขึ้นในพื้นที่ก่อนผ่าตัด และมีการตรวจสอบเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมเกิดขึ้นในห้องผ่าตัด

การขอเวลานอก จัดขึ้นในทันทีก่อนเริ่มต้นทำหัตถการกับสมาชิกในทีมทั้งหมด เพื่อยืนยันขั้นสุดท้ายเป็นการเปิดโอกาสให้ไขข้อข้องใจในคำถามหรือข้อสงสัยที่ยังไม่มีคำตอบ | การขอเวลานอกทำในสถานที่ที่จะทำหัตถการ ก่อนเริ่มต้นทำหัตถการ และมีส่วนร่วมโดยทีมงานผ่าตัดทั้งหมด | ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมในการขอเวลานอก | องค์กรกำหนดวิธีการบันทึกกระบวนการขอเวลานอกเพื่อยืนยันขั้นสุดท้ายดังกล่าว

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ IPSG.4
Ο 1. องค์กรใช้เครื่องหมายเพื่อระบุตำแหน่งผ่าตัดและการสอดใส่เข้าไปในร่างกายที่ชัดเจนเข้าใจได้โดยทันที – มีการระบุที่สอดคล้องกันตลอดทั้งโรงพยาบาล
Ο 2. องค์กรใช้เครื่องหมายเพื่อระบุตำแหน่งผ่าตัดโดยบุคลากรผู้ทำหัตถการ และผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำเครื่องหมาย
Ο 3. องค์กรใช้รายการตรวจสอบ (checklist) หรือกระบวนการอื่นเพื่อยืนยันความถูกต้องของตำแหน่ง หัตถการ ตัวผู้ป่วย ก่อนการผ่าตัด รวมถึงยืนยันว่ามีเอกสารและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องการอยู่ในมือ ถูกต้องและใช้การได้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ IPSG.4.1
Ο 1. ทีมผ่าตัดทุกคนร่วมในกระบวนการขอเวลานอกและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มต้นหัตถการผ่าตัด/การสอดใส่เข้าไปในร่างกาย
Ο 2. องค์ประกอบของการขอเวลานอกรวมถึงการระบุตัวผู้ป่วยที่ถูกต้อง ถูกด้านและตำแหน่ง หัตถการที่ทำได้รับการยืนยันและกระบวนการตรวจสอบได้เสร็จสมบูรณ์
Ο 3. มีการจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติ ซึ่งจะก่อให้เกิดกระบวนการที่เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อสร้างความมั่นใจในการผ่าตัดที่ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ และถูกคน รวมถึงหัตถการทางการแพทย์และทันตแพทย์ที่ทำในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นอกห้องผ่าตัด


IPSG – ระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง | เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร | ความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง | สร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน | ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ | ลดความเสี่ยงของอันตรายต่อผู้ป่วยจากการพลัดตกหกล้ม