fbpx
WeLoveMed.com

การให้การศึกษาแก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ (MPE)

JCI

การให้การศึกษาแก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ Medical Professional Education (MPE)


มาตรฐาน MPE.1
ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลและเป็นผู้นำขององค์กรอนุมัติและตรวจสอบติดตามการมีส่วนร่วมขององค์กรในการให้การศึกษาทางการแพทย์

เจตนาของ MPE.1
การรวบรวมการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดในการดำเนินงานขององค์กรต้องการความมุ่งมั่นในการกำหนดเวลา พลังงาน และทรัพยากรอย่างมีสาระสำคัญ | ผู้ฝึกอบรมรวมถึง แพทย์ใช้ทุน (interns) แพทย์ประจำบ้าน (residents หรือ house officers) และ แพทย์เฉพาะทางสาขาต่อยอด (fellows) | การตัดสินใจรวมการศึกษาและการดำเนินงานที่จะทำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ระดับสูงสุดขององค์กร | เมื่อตัดสินใจให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายหรือหุ้นส่วนขององค์กร การกำกับดูแลจะได้รับแจ้งทุกความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ | ในฐานะที่เป็นระดับการกำกับดูแลมีความรับผิดขอบต่อการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายองค์กร แผนกลยุทธ์ การจัดสรรทรัพยากร และโปรแกรมคุณภาพด้วยเช่นกัน (ดูที่ GLD.1.1 ถึง GLD.1.6) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะรวบรวมการตัดสินใจ | ตัวอย่างเช่น ความมุ่งมั่นในการให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์และผู้ฝึกอบรมสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรหรือไม่ และความมุ่งมั่นนี้นำเสนอบริการต่อประชาชนและผู้ป่วยอย่างไร

ผู้กำกับดูแลและผู้นำขององค์กรมีความรับผิดชอบต่อการได้มา การทบทวน และการยอมรับต่อตัวแปรโปรแกรมการศึกษาของผู้ให้การสนับสนุนหลักสูตรการศึกษาด้วยเช่นกัน

ชุดของตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการศึกษาในองค์กรถูกเลือกและรายงานไปยังผู้กำกับดูแลและผู้นำองค์กรเป็นประจำทุกปีเพื่อตรวจสอบขอบเขตและกิจกรรมของโปรแกรม ความสำเร็จของเป้าหมายโปรแกรม การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และความพึงพอใจกับโปรแกรมของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.1
Ο 1. การตัดสินใจให้การศึกษาทางการแพทย์จะทำในระดับสูงสุดของการกำกับดูแลและความเป็นผู้นำขององค์กร ที่มีความสอดคล้องกับภารกิจขององค์กร และได้บันทึกไว้
Ο 2. ผู้กำกับดูแลและผู้นำองค์กรได้รับ ตรวจสอบ และยอมรับตัวแปรของการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนแพทย์ และได้บันทึกการทำงานไว้
Ο 3. ผู้กำกับดูแลและผู้นำองค์กรรับรองชุดของตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินการของโปรแกรมการศึกษาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีการบันทึกการติดตามและตรวจสอบไว้
Ο 4. ผู้กำกับดูแลและผู้นำองค์กรตรวจสอบโปรแกรมการศึกษาทางการแพทย์ในองค์กรอย่างน้อยปีละครั้ง และมีการบันทึกการตรวจสอบไว้
Ο 5. การตรวจสอบรวมถึงความพอใจของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ต่อการให้บริการทางคลินิกในโปรแกรม


มาตรฐาน MPE.2
เจ้าหน้าที่คลินิก ประชากรผู้ป่วย เทคโนโลยี และอาคารสถานที่ขององค์กรสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรมการศึกษา

เจตนาของ MPE.2
การให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและมีความหมายสำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดต้องมีปัจจัยหลายอย่าง ที่นอกเหนือจากความมุ่งมั่นของการกำกับดูแลและการนำองค์กร | เจ้าหน้าที่ทางคลินิกขององค์กรต้องมีจำนวนเพียงพอและมีความเชี่ยวชาญเพื่อให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดเพิ่มมากขึ้น | ตัวอย่างเช่น จำนวนเจ้าหน้าที่พยาบาลสนับสนุนโปรแกรมการศึกษา และเจ้าหน้าที่พยาบาลเข้าใจความสัมพันธ์เพื่อโปรแกรมการศึกษา

ประชากรผู้ป่วยขององค์กรมีจำนวนเพียงพอและต้องการการสนับสนุนการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้ด้านคลินิก | นอกจากนี้ต้องมีห้องเรียนที่เพียงพอ กับการศึกษาแบบออกปฏิบัติหน้าที่ และ สถานที่พัก และเอกสารประกอบการสอนที่พิมพ์ขึ้นและแบบออนไลน์สนับสนุนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ | มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จำเป็นเพื่อฝึกสอนจากหลักฐานที่ใช้ปฏิบัติทางด้านดูแลสุขภาพ

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.2
Ο 1. มีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ทางคลินิกขององค์กรมีจำนวนเพียงพอและมีการศึกษา ฝึกอบรม และมีความสามารถในการสนับสนุนและให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดเพิ่มขึ้น
Ο 2. มีหลักฐานว่าประชากรผู้ป่วยขององค์กรมีจำนวนเพียงพอและมีความต้องการทางคลินิกเพื่อสนับสนุนการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด
Ο 3. มีหลักฐานว่า อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และทรัพยากรอื่นสนับสนุนการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด


มาตรฐาน MPE.3
มีการระบุ ผู้สอนด้านคลินิก และบทบาทของเจ้าหน้าที่แต่ละคนและความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษา

เจตนาของ MPE.3
มีการระบุ เจ้าหน้าที่ทางคลินิกที่มีความรับผิดชอบต่อนักศึกษาแพทย์และให้การศึกษาอบรมและควบคุมดูแล ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดและเจ้าหน้าที่องค์กรอื่นเข้าใจความรับผิดขอบและอำนาจในการสั่งการขณะศึกษา | ตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าหน้าที่องค์กรมีความคิดเห็น ความกังวล หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโปรแกรมการศึกษา หรือนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดมีความเข้าใจว่าใครรับผิดชอบในการรับข้อมูลนั้นและดำเนินการต่อไป

ความสัมพันธ์ของผู้สอนด้านคลินิกขององค์กรต่อสถาบันที่ให้การสนับสนุนทางการศึกษาจะต้องชัดเจน | ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการหารือตำแหน่งทางวิชาการของเจ้าหน้าที่ทางคลินิก มีความชัดเจนของรายได้และรางวัลของตำแหน่งนั้น การใช้ตำแหน่งอย่างไร และตำแหน่งมีความหมายต่อประชาชนทั่วไปอย่างไร | องค์กรมีรายชื่อของผู้สอนด้านคลินิกและตำแหน่งทางการแพทย์และวิชาการ | มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับการต่ออายุหรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทางวิชาการ (ดูที่ SQE.9 ถึง SQE.11)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.3
Ο 1. มีการระบุผู้สอนด้านคลินิกให้แก่เจ้าหน้าที่องค์กร และมีรายชื่อผู้สอนด้านคลินิกทั้งหมด รวมถืงตำแหน่งทางวิชาชีพและการศึกษา
Ο 2. เจ้าหน้าที่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจในการสั่งการ
Ο 3. องค์กรมีกระบวนการในการตรวจสอบตำแหน่งทางวิชาการ และข้อกำหนดสำหรับการต่ออายุหรือการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงตำแหน่งให้เป็นปัจจุบัน


มาตรฐาน MPE.4
องค์กรเข้าใจและกำหนดความถี่และความจำเป็นของการควบคุมดูแลทางการแพทย์สำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแต่ละประเภทและแต่ละระดับ ℗

เจตนาของ MPE.4
การควบคุมดูแลมีความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการดูแลผู้ป่วยมีความปลอดภัยและให้แน่ใจว่าโปรแกรมการฝึกอบรมเป็นประสบการณ์สำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด | ระดับการควบคุมดูแลที่ต้องการมีความสอดคล้องกับระดับการฝึกอบรมและระดับของความสามารถของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด | องค์กรเข้าใจว่าความสามารถของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด ไม่สามารถสันนิษฐานได้และจะต้องแสดงให้เห็นในช่วงต้นโปรแกรมการฝึกอบรม

นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแต่ละคนเข้าใจกระบวนการควบคุมดูแลด้านคลินิก รวมถึงผู้ใดคือผู้ควบคุมดูแล และความถี่ในการกำกับดูแล | ตัวอย่างเช่น นักศึกษาแพทย์เข้าใจว่าการควบคุมดูแลทำโดยแพทย์ประจำบ้าน หรือโดยแพทย์หลักของผู้ป่วย หรือโดยอาจารย์ของโรงเรียนแพทย์ | นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดเข้าใจว่าการควบคุมดูแลรวมถึงการลงนามในบันทึกและใบสั่งยาทุกฉบับของทุกวัน การลงนามในแผนการดูแลและบันทึกความคืบหน้าของอาการทุกๆ วัน หรือการบันทึกรายการในทะเบียนผู้ป่วย | ในทำนองเดียวกัน เป็นที่ชัดเจนว่ามีการบันทึกวิธีการที่เป็นหลักฐานของการกำกับดูแลไว้ รวมถึงความถี่และตำแหน่งของเอกสาร | เพื่อให้มั่นใจว่าประสบการณ์จากการเรียนรู้เป็นรูปแบบเดียวกัน องค์กรมีการระบุและตรวจสอบความคาดหวังที่เป็นรูปแบบเดียวกันสำหรับกระบวนการให้คำปรึกษา/กำกับดูแล

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.4
Ο 1. นโยบายองค์กรระบุระดับการควบคุมดูแลที่ต้องการของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแต่ละระดับ
Ο 2. ระดับกำหนดบนพื้นฐานของความสามารถในการอธิบายให้นักศึกษาแพทย์ฝึกหัด
Ο 3. นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดเข้าใจระดับ ความถี่ และเอกสารของการควบคุมดูแล
Ο 4. องค์กรมีระดับของการดูแลที่ต้องการสำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแต่ละคน
Ο 5. มีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันสำหรับการบันทึกการควบคุมดูแลที่ต้องการซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายองค์กร เป้าหมายของโปรแกรม และคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย
Ο 6. องค์กรมีการกำหนดความคาดหวังที่เป็นรูปแบบเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่กำกับดูแลทุกคน เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทำให้นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดมีประสบการณ์ในรูปแบบเดียวกัน
Ο 7. มีการตรวจสอบทะเบียนผู้ป่วยว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของการบันทึกเอกสารและความถี่ในการตรวจสอบ


มาตรฐาน MPE.5
มีการประสานงานและการบริหารจัดการการศึกษาทางการแพทย์ในองค์กรผ่านกลไกการดำเนินงานที่กำหนดไว้และโครงสร้างการบริหารจัดการ

เจตนาของ MPE.5
โปรแกรมการศึกษาทางการแพทย์ในองค์กรต้องมีโครงสร้างการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และความมุ่งมั่นของเวลาของบุคลากรสำหรับการดำเนินการประสานงานและชีวิตประจำวัน | มีการจัดทำและตรวจสอบข้อตกลงระหว่างองค์กรและโรงเรียนแพทย์ | มีรายชื่อของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดที่ถูกต้องในองค์กร | มีเอกสารสำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแต่ละคน ดังนี้

a) สถานะการลงทะเบียน
b) การจำแนกประเภทวิชาการ
c) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองที่จำเป็น
d) รายงานความสำเร็จของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด
e) บัตรประจำตัวของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดและความสามารถ
f) ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องการการอำนวยความสะดวก
g) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อระดับการกำกับดูแลที่จำเป็น

เมื่อโปรแกรมการศึกษาได้รับการสนับสนุนโดยองค์กร มีการกำหนดวิธีการและสถานที่จัดกิจกรรมไว้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.5
Ο 1. มีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานสำหรับการศึกษาทางการแพทย์และมีการดำเนินงานตามที่ต้องการ
Ο 2. โครงสร้างการบริหารจัดการสำหรับการศึกษาทางการแพทย์ในองค์กรและมีการดำเนินงานตามที่ต้องการ
Ο 3. มีรายชื่อนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดในองค์กรที่สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
Ο 4. มีการบันทึกไว้ซึ่งข้อ a) ถึง g) ในหัวข้อเจตนา ของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแต่ละคน


มาตรฐาน MPE.6
นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติทั้งหมดขององค์กร และการดูแลทั้งหมดที่มีภายในคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยขององค์กร ℗

เจตนาของ MPE.6
โปรแกรมการฝึกอบรมและผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยรวม | ถึงแม้ว่านักศึกษาแพทย์ฝึกหัดมีความประสงค์ที่จะมีการศึกษาขั้นพื้นฐานในคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยในโปรแกรมการศึกษา แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้น | ดังนั้น องค์กรต้องมีโปรแกรมที่วางแผนไว้และรอบคอบเพื่อแนะนำแนวคิดดังกล่าว สนับสนุนนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด ในการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางที่เกี่ยวข้อง และรวมนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดในโปรแกรมการติดตามคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย | ตัวอย่างเช่น นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดได้รับการศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล

นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีแนวทางการปฏิบัติทางคลินิก ขั้นตอนการขอเวลานอกในการผ่าตัด นโยบายในการสั่งยา และกลไกอื่นเพื่อลดความแตกต่างในกระบวนการดูแล – และ ดังนั้นลดความเสี่ยงในกระบวนการ – เป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกหัดและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการตรวจสอบ | การปฐมนิเทศสำหรับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดรวมถึงดังนี้ เป็นอย่างน้อย

a) โปรแกรมคุณภาพและความปลอดภัยขององค์กร (ดูที่ GLD.4, GLD.4.1, GLD.5, GLD.11 และ GLD.11.2)
b) โปรแกรมควบคุมการติดเชื้อ (ดูที่ PCI.5)
c) โปรแกรมความปลอดภัยด้านยา (ดูที่ MMU.1)
d) เป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล
e) การปฐมนิเทศอื่นๆ ที่จำเป็น รวมถึงระดับแผนกและหน่วยบริการ (ดูที่ SQE.7) และ
f) การศึกษาต่อเนื่องที่จำเป็นอื่นๆ

กระบวนการติดตามรวมถึงการที่บุคคลเหล่านั้นให้การกำกับดูแลนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดเพื่อให้แน่ใจว่ามีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคุณภาพและความปลอดภัย (ดูที่ MOI.9.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.6
Ο 1. นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดได้รับการปฐมนิเทศ ที่มีข้อ a) ถึง f) ในหัวข้อเจตนา เป็นอย่างน้อย
Ο 2. โปรแกรมการติดตามคุณภาพขององค์กร รวมข้อมูลนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดที่รวบรวมไว้ด้วย
Ο 3. ผู้ดูแลนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดแน่ใจว่านักศึกษาแพทย์ฝึกหัดมีความรู้ของโปรแกรมและมีส่วนร่วมในโปรแกรม
Ο 4. นักศึกษาแพทย์ฝึกหัดสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้ของโปรแกรมเหล่านี้
Ο 5. ผู้ดูแลนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดพิจารณาการปฏิบัติตามโปรแกรมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด


มาตรฐาน MPE.7
การฝึกอบรมทางการแพทย์ที่ให้การดูแลหรือบริการในโรงพยาบาล – นอกตัวแปรของโปรแกรมทางวิชาการ – ได้รับสิทธิ์ในการให้บริการโดยต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและการกำหนดสิทธิการดูแล คำบรรยายลักษณะงาน หรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ขององค์กร

เจตนาของ MPE.7
กฎหมายและระเบียบปฏิบัติในหลายๆ ประเทศอนุญาตให้ผู้ฝึกหัด มีความก้าวหน้าในโปรแกรม ให้บริการในองค์กรนอกเหนือจากโปรแกรมการศึกษา | เช่น ผู้ฝึกหัดอาจจะให้การดูแลทางการแพทย์ในแผนกฉุกเฉินในตอนเย็นหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ หรืออาจจะทำงานเป็น “แพทย์ประจำบ้าน” ในช่วงกะดึก | ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ฝึกหัดแต่ละคนจะต้องได้รับการประเมินและได้รับอนุญาตที่จะให้บริการเหล่านั้นผ่านกระบวนการที่จัดทำขึ้นตามปกติสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ตามที่อธิบายไว้ในมาตรฐานคุณสมบัติและการศึกษาของบุคลากร (SQE) | งานของเขาถูกประเมินเป็นไปตามมาตรฐาน SQE

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MPE.7
Ο 1. องค์กรกำหนดประเภทของการฝึกอบรมและภายใต้สถานการณ์ที่สามารถจ้างหรือมีการกำหนดโดยองค์กรเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยหรือบริการอื่น
Ο 2. การฝึกอบรมการให้บริการดังกล่าวได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติและกำหนดสิทธิการให้บริการ (ดูที่ SQE.9 และ SQE.10)
Ο 3. มีการประเมินผู้ฝึกหัดที่ให้การบริการดังกล่าว (ดูที่ SQE.11)