fbpx
WeLoveMed.com

ASC การดูแลทางศัลยกรรม

 การดูแลทางศัลยกรรม (Surgical Care)

มาตรฐาน ASC.7
มีการวางแผนและบันทึกแผนการดูแลทางศัลยกรรมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ตามผลการประเมินผู้ป่วย

เจตนาของ ASC.7
เนื่องจากการผ่าตัดก่อให้เกิดความเสี่ยงในระดับสูง จึงต้องวางแผนใช้การผ่าตัดอย่างระมัดระวัง | การประเมินผู้ป่วยเป็นพื้นฐานสำหรับการเลือกหัตถการผ่าตัดที่เหมาะสม และเพื่อระบุสิ่งที่ตรวจพบจากการเฝ้าติดตามผู้ป่วยอาจจะเป็นเรื่องสำคัญ | การประเมินให้ข้อมูลที่จำเป็น สำหรับ

  • เลือกหัตถการที่เหมาะสมและเวลาที่ดีที่สุด
  • การทำหัตถการอย่างปลอดภัย และ
  • การแปลสิ่งที่ตรวจพบจากการเฝ้าติดตามผู้ป่วย

การเลือกหัตถการผ่าตัดขึ้นอยู่กับประวัติของผู้ป่วย สภาวะทางร่างกาย และข้อมูลการวินิจฉัยโรค รวมทั้ง ความเสี่ยงและประโยชน์ของหัตถการต่อผู้ป่วย | การเลือกหัตถการอาศัยการพิจารณาสารสนเทศที่ได้จาก การประเมินผู้ป่วยเมื่อแรกรับ ผลการตรวจวิเคราะห์เพื่อการวินิจฉัยโรค และข้อมูลอื่นที่มี | กระบวนการประเมินผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดโดยฉุกเฉินอาจกระทำในช่วงเวลาที่สั้นลง (ดู AOP.1.2.1, ME 3)
มีการระบุแผนการดูแลด้านศัลยกรรมและการวินิจฉัยโรคก่อนการผ่าตัดไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย | ชื่อของหัตถการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่ถือเป็นการวินิจฉัยโรค

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ASC.7
Ο  1. มีการบันทึกสารสนเทศจากการประเมินที่ใช้ในการจัดทำและสนับสนุนหัตถการรุกลํ้าร่างกาย (invasive procedure) ที่วางแผน ไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยโดยแพทย์ผู้รับผิดชอบก่อนที่จะทำหัตถการ (ดูที่ AOP.5.4, ME 3; และ AOP.6.4, ME 3)
Ο  2. การดูแลทางศัลยกรรมของผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการวางแผนตามสารสนเทศจากการประเมิน
Ο  3. มีการบันทึกการวินิจฉัยโรคก่อนผ่าตัดและหัตถการที่วางแผนไว้ ในเวชระเบียนผู้ป่วยโดยแพทย์ผู้รับผิดชอบ ก่อนที่จะทำหัตถการ


มาตรฐาน ASC.7.1
มีการอธิบายเรื่องความเสี่ยง ประโยชน์ และทางเลือกของการดูแลทางศัลยกรรม ให้กับผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้

เจตนาของ ASC.7.1
ผู้ป่วยและครอบครัวหรือผู้ที่ตัดสินใจแทน ได้รับสารสนเทศที่เพียงพอเพื่อมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและให้ความยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว (informed consent) ตามข้อกำหนดใน PFR.5.2 | ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย

  • ความเสี่ยงของหัตถการที่วางแผนไว้
  • ประโยชน์ของหัตถการที่วางแผนไว้
  • ภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และ
  • ทางเลือกของการรักษาด้วยการผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัดที่เป็นไปได้สำหรับผู้ป่วย

นอกจากนี้ เมื่อจำเป็นต้องใช้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด จะต้องมีการอธิบายในเรื่องความเสี่ยงและทางเลือก | ศัลยแพทย์ที่จะผ่าตัดผู้ป่วยหรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ให้สารสนเทศนี้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ASC.7.1
Ο  1. ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ที่ตัดสินใจแทนได้รับความรู้ถึงความเสี่ยง ประโยชน์ ภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้น และทางเลือก เกี่ยวกับหัตถการการผ่าตัดที่วางแผนไว้
Ο  2. การให้ความรู้ รวมถึงความจำเป็น ความเสี่ยงและประโยชน์ และทางเลือกในการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
Ο  3. ศัลยแพทย์ที่จะผ่าตัดผู้ป่วยหรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติ เป็นผู้ให้ความรู้และบันทึกความรู้ไว้


 มาตรฐาน ASC.7.2
มีรายงานทางศัลยกรรมเกี่ยวกับหัตถการการผ่าตัด ได้บันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อช่วยในการดูแลต่อเนื่อง

เจตนาของ ASC.7.2
การดูแลผู้ป่วยหลังทำศัลยกรรมขึ้นกับเหตุการณ์และสิ่งที่พบจากหัตถการทางศัลยกรรม | ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือหัตถการและผลการรักษาที่จำเป็นของสภาวะของผู้ป่วยจะต้องถูกบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วย |  ข้อมูลนี้จะถูกนำเสนอในรูปแบบของแบบแผน ทั้งแบบกระดาษหรืออิเลคทรอนิคส์ หรือ เป็นรายงานการผ่าตัด เช่น การบันทึกรายงานความคืบหน้าของการผ่าตัด | รายงานทางศัลยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรได้รับการจัดทำเสร็จก่อนที่ผู้ป่วยจะออกจากบริเวณพักฟื้นหลังการระงับความรู้สึก เพื่อช่วยในการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องหลังทำศัลยกรรม | รายงานทางศัลยกรรมจะต้องมีข้อมูลดังนี้เป็นอย่างน้อย

a) การวินิจฉัยหลังการผ่าตัด
b) ชื่อศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดและผู้ช่วย
c) ชื่อหัตถการและคำอธิบายของสิ่งที่ค้นพบ
d) ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการทำหัตถการ
e) สิ่งที่ส่งไปตรวจทางศัลยกรรม
f) ปริมาณการสูญเสียเลือดและปริมาณการถ่ายเลือด
g) ตัวเลขทะเบียนของเครื่องมือทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในผู้ป่วย
h) วัน เวลา และลายมือชื่อของแพทย์ผู้รับผิดชอบ

ข้อมูลบางอย่างอาจจะไว้ในบันทึกอื่นๆ | ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณการสูญเสียเลือดและปริมาณการถ่ายเลือดอาจจะถูกบันทึกในทะเบียนระงับความเจ็บปวด หรือข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใส่เข้าไปอาจจะแสดงในสติ๊กเกอร์ที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าของผู้ผลิตเครื่องมือ
เวลาหลังศัลยกรรมโดยทันทีทันใดเรียกว่าเป็น “เวลาที่ทำศัลยกรรมเสร็จ ก่อนที่ผู้ป่วยจะถูกเคลื่อนย้ายเพื่อไปดูแลในขั้นต่อไป” | คำนิยามนี้ทำให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องมีไว้สำหรับผู้ดูแลคนต่อไป ถ้าศัลยแพทย์ยังคงดูแลผู้ป่วยจากห้องผ่าตัดไปที่หน่วยงานต่อไปหรือพื้นที่ที่ได้รับการดูแล รายงานทางศัลยกรรม แบบแผน หรือ บันทึกความคืบหน้าสามารถเขียนในหน่วยงานนั้นหรือพื้นที่ที่ดูแลนั้น (ดูที่ ACC.3; COP.2.3; และ QPS.8, ME 5)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ASC.7.2
Ο  1. รายงานทางศัลยกรรม แบบแผน หรือบันทึกความคืบหน้าในการผ่าตัด ประกอบด้วยเนื้อหาข้อ a) ถึง h) ในหัวข้อเจตนา เป็นอย่างน้อย
Ο  2. โรงพยาบาลได้ระบุสารสนเทศที่อาจจะถูกบันทึกในหน่วยงานเฉพาะของรายการเป็นประจำ
Ο  3. รายงานทางศัลยกรรม แบบแผน หรือ บันทึกความคืบหน้ามีขึ้นทันทีหลังจากการผ่าตัด ก่อนที่คนไข้จะถูกโอนย้ายไปเพื่อการดูแลขั้นต่อไป


มาตรฐาน ASC.7.3
มีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยหลังศัลยกรรมและได้รับการบันทึก

เจตนาของ ASC.7.3
ผู้ป่วยแต่ละคนต้องการยาหลังศัลยกรรมหรือการพยาบาลที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหัตถการการผ่าตัดและประวัติยาของผู้ป่วย | นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางคนอาจต้องการการดูแลจากการบริการอื่นๆ เช่น กายภาพบำบัด หรือเวชศาสตร์ฟื้นฟู | ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึง ระดับการดูแลผู้ป่วย การกำหนดการดูแล การเฝ้าติดตามหรือการรักษาติดตาม และความต้องการในการใช้ยาหรือการรักษาและบริการอื่นๆ
การวางแผนดูแลหลังศัลยกรรมสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ก่อนการทำศัลยกรรม ขึ้นอยู่กับการประเมินความต้องการและสภาวะและประเภทของศัลยกรรมที่ทำการรักษา | แผนการดูแลผู้ป่วยหลังศัลยกรรมรวมไปถึงความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยทันทีหลังศัลยกรรม | การวางแผนการดูแลผู้ป่วยถูกบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงและมีการรับรองโดยหน่วยงานบริการที่รับผิดชอบเพื่อให้มั่นใจการบริการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในช่วงพักฟื้นหรือฟื้นฟูผู้ป่วย
ความจำเป็นของการดูแลผู้ป่วยหลังศัลยกรรมอาจจะเปลี่ยนเนื่องจากการปรับปรุงการรักษา หรือการประเมินใหม่เป็นประจำจากสารสนเทศใหม่ที่ได้รับ หรือ อาจจะมีหลักฐานถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาวะของผู้ป่วยในทันทีทันใด | การวางแผนดูแลผู้ป่วยหลังศัลยกรรมมีการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียน ซึ่งจะเป็นแผนเริ่มต้น หรือ เป็นแผนที่เปลี่ยนไป หรือเป็นแผนใหม่ในการดูแลผู้ป่วย (ดูที่ COP.2.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ASC.7.3
Ο  1. แผนการดูแลหลังศัลยกรรมมีการจัดทำโดย แพทย์ พยาบาล หรือบุคคลอื่น ซึ่งจะต้องมีทันทีกับความต้องการการดูแลหลังศัลยกรรม
Ο  2. แผนการดูแลหลังศัลยกรรมอย่างต่อเนื่องได้รับการบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงโดยศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบหรือ ได้รับการยืนยันโดยศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบโดยการลงนามร่วมในแผนที่บันทึกไว้โดยผู้ที่ศัลยแพทย์มอบหมาย
Ο  3. แผนการดูแลหลังศัลยกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การให้ยา การพยาบาล และ อื่นๆ เท่าที่จำเป็นต่อผู้ป่วย
Ο  4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แผนการดูแลหลังศัลยกรรมได้ถูกปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับการประเมินใหม่ โดยนักปฏิบัติการด้านสุขภาพ


มาตรฐาน ASC.7.4
มีการวางแผนไว้สำหรับการดูแลทางศัลยกรรมที่มีการนำเครื่องมือเข้าไปในผู้ป่วย และมีการพิจารณาเป็นพิเศษถึงขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานและหัตถการที่จะต้องปรับเปลี่ยน

เจตนาของ ASC.7.4
หัตถการการผ่าตัดหลายๆ อย่าง เกี่ยวข้องกับการใส่อวัยวะเทียม เช่น สะโพก หรือ เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องควบคุมระดับปริมาณน้ำตาล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัด | หัตถการผ่าตัดชนิดนี้ต้องการการดูแลศัลยกรรมเป็นประจำและจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อพิจารณาปัจจัยพิเศษ เช่น

a) การเลือกเครื่องมือขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์และการวิจัยที่มี
b) การเปลี่ยนแปลงของตรวจสอบรายการทางศัลยกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือที่ใส่เข้าไปอยู่ในห้องผ่าตัดและพิจารณาเป็นพิเศษในการทำเครื่องหมายเพื่อศัลยกรรม
c) พนักงานที่ไม่ใช่พนักงานด้านเทคนิคมีคุณสมบัติและได้รับการอบรมที่จำเป็นระหว่างการใส่เครื่องมือ
d) ความเข้าใจของและกระบวนการรายงานสำหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเครื่องมือที่จะเป็นอันตราย
e) การพิจารณาการควบคุมการติดเชื้อ
f) คำแนะนำที่ผู้ป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ และ
g) การติดตามเครื่องมือถ้ามีเหตุการณ์เรียกผู้ป่วยเพื่อกลับมาดูผล

การพิจารณาเป็นพิเศษนี้อาจจะจัดทำเป็นลักษณะของแนวทาง ระเบียบการ นโยบายการผ่าตัด หรือ เอกสารอื่น เพื่อเป็นแนวทางให้ทีมงานศัลยแพทย์ และก่อให้เกิด ขั้นตอนและผลการรักษาที่มีความสม่ำเสมอ (ดูที่ FMS.8.1 และ SQE.10)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ASC.7.4
Ο  1. การให้บริการศัลยกรรมของโรงพยาบาลได้กำหนดชนิดของเครื่องมือที่มีการใส่เข้าไปในผู้ป่วย ซึ่งจะต้องระบุในขอบเขตของการบริการ
Ο  2. นโยบายและวิธีการปฏิบัติได้รวมถึงข้อ a) ถึง g) ในหัวข้อเจตนา
Ο  3. เครื่องมือที่ใส่เข้าไปในผู้ป่วย มีอยู่ในหน่วยงานที่ดูแลโดยเฉพาะ


ASC – การจัดระบบและการจัดการ | การทำให้สงบ | การระงับความรู้สึก | การดูแลทางศัลยกรรม