fbpx
WeLoveMed.com

ASC การระงับความรู้สึก

การระงับความรู้สึก (Anesthesia Care)

มาตรฐาน ASC.4
ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก และก่อนการนำสลบ

เจตนาของ ASC.4
เนื่องจากการระงับความรู้สึกก่อให้เกิดความเสี่ยงระดับสูง จึงต้องมีการวางแผนอย่างระมัดระวัง | การประเมินสภาวะผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกเป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนดังกล่าวและการบริหารยาแก้ปวดหลังผ่าตัด | การประเมินก่อนให้การระงับความรู้สึกให้สารสนเทศที่จำเป็นสำหรับ

  • ระบุปัญหาทางเดินหายใจ
  • การเลือกวิธีการระงับความรู้สึกและการวางแผนระงับความรู้สึก
  • การให้การระงับความรู้สึกที่เหมาะสมอย่างปลอดภัยขึ้นอยู่กับการประเมินผู้ป่วย การระบุความเสี่ยง และชนิดของวิธีการระงับความรู้สึก
  • การแปลผลข้อมูลจากการเฝ้าติดตามผู้ป่วยระหว่างการระงับความรู้สึกและการฟื้นตัว และ
  • แสดงข้อมูลของสภาวะไร้ความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างศัลยกรรม

วิสัญญีแพทย์หรือผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมอื่น เป็นผู้ประเมินผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก |  กระบวนการประเมินก่อนให้การระงับความรู้สึกอาจทำก่อนการรับไว้เป็นผู้ป่วยในหรือก่อนทำหัตถการผ่าตัดสักระยะหนึ่ง หรือทันทีก่อนทำหัตถการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้ป่วยคลอด |  การประเมินก่อนการนำสลบเป็นการประเมินที่แยกจากการประเมินก่อนให้การระงับความรู้สึก | เนื่องจากเน้นที่ความเสถียรทางสรีรวิทยาและความพร้อมของผู้ป่วยสำหรับการระงับความรู้สึก และเกิดขึ้นทันทีก่อนการนำสลบ ถ้าจะต้องให้การระงับความรู้สึกอย่างฉุกเฉิน การประเมินก่อนให้การระงับความรู้สึกและการประเมินก่อนการนำสลบ สามารถทำต่อเนื่องกันได้หรือพร้อมกันได้ แต่ได้รับการบันทึกแยกจากกัน

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.4
Ο 1. มีการประเมินผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย (ดูที่ AOP.1, MEs 1 และ 2)
Ο 2. ผู้ป่วยได้รับการประเมินก่อนการนำสลบ เพื่อประเมินผู้ป่วยอีกครั้งหนึ่งทันทีก่อนการนำสลบ
Ο 3. การประเมินทั้งสอง กระทำโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย


มาตรฐาน ASC.5
มีการวางแผนการให้การระงับความรู้สึกของผู้ป่วยแต่ละรายและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

เจตนาของ ASC.5
มีการวางแผนการระงับความรู้สึกอย่างระมัดระวังและบันทึกไว้ในแบบบันทึกทางวิสัญญี | การวางแผนมีการพิจารณาข้อมูลจากการประเมินอื่นๆ ด้วย แผนระบุการระงับความรู้สึกที่จะใช้ วิธีการระงับความรู้สึก ยาและสารนํ้าอื่นๆ | วิธีการเฝ้าติดตาม และการดูแลหลังการระงับความรู้สึกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มีการบันทึกผู้ที่ทำการระงับความรู้สึก ปริมาณยาที่ใช้ (ถ้ามี) และเทคนิคไว้ในทะเบียนการระงับความรู้สึกของผู้ป่วย (ดูที่ COP.2.1; QPS.8, ME 6; และ MOI.10.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.5
Ο 1. มีการวางแผนการระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 2. มีการบันทึกผู้ที่ทำการระงับความรู้สึก ปริมาณยาที่ใช้ (ถ้ามี) และเทคนิคในการระงับความรู้สึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 3. มีการบันทึกชื่อวิสัญญีแพทย์และ/หรือพยาบาลวิสัญญีหรือผู้ช่วยไว้ในทะเบียนการระงับความรู้สึกของผู้ป่วย


มาตรฐาน ASC.5.1
มีการอธิบายเรื่องความเสี่ยง ประโยชน์ และทางเลือกในการระงับความรู้สึกให้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

เจตนาของ ASC.5.1
กระบวนการวางแผนระงับความรู้สึกหมายรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย ในประเด็นเรื่องความเสี่ยง ประโยชน์ ทางเลือกเกี่ยวกับการระงับความรู้สึกและการบริหารยาระงับปวดหลังผ่าตัดที่วางแผนไว้ | การสนทนานี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่จะขอความยินยอมสำหรับการระงับความรู้สึก ตามที่กำหนดใน PFR.5.2 วิสัญญีแพทย์หรือผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ให้ความรู้นี้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.5.1
Ο 1. มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ตัดสินใจแทนผู้ป่วย ในเรื่องความเสี่ยง ประโยชน์ และทางเลือกของการระงับความรู้สึก
Ο 2. มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ตัดสินใจแทนผู้ป่วย ในเรื่องการบริหารยาระงับปวดหลังผ่าตัด
Ο 3. วิสัญญีแพทย์หรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ให้ความรู้


มาตรฐาน ASC.6
มีการเฝ้าติดตามสภาวะทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างต่อเนื่องระหว่างให้การระงับความรู้สึก และบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย

เจตนาของ ASC.6
การเฝ้าติดตามสภาวะทางสรีรวิทยา ทำให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วยระหว่างการให้การระงับความรู้สึก (ทั้งร่างกาย, ทางไขสันหลัง และเฉพาะส่วน) และในช่วงพักฟื้น | ผลของการติดตามเป็นปัจจัยส่งผลต่อการตัดสินใจระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดเช่นกัน เช่น การกลับไปทำศัลยกรรม การโอนไปยังหน่วยการดูแลอีกหน่วย หรือการจำหน่ายผู้ป่วย | ข้อมูลในการเฝ้าติดตามเป็นแนวทางในการให้ยาและพยาบาลผู้ป่วยและระบุถึงความจำเป็นในการวินิจฉัยและบริการอื่นๆ มีการบันทึกผลการติดตามผู้ป่วยไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
วิธีการเฝ้าติดตามขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยก่อนการให้การระงับความรู้สึก วิธีการระงับความรู้สึก และความซับซ้อนของการผ่าตัดหรือหัตถการอื่นที่กระทำระหว่างระงับความรู้สึก | อย่างไรก็ตาม การเฝ้าติดตามโดยรวมระหว่างระงับความรู้สีกสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพและนโยบายองค์กร และมีการบันทึกผลลัพธ์ไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยในผู้ป่วยทุกราย (ดูที่ ASC.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.6
Ο 1.
นโยบายและระเบียบปฏิบัติระบุความถี่ขั้นตํ่าและประเภทของการเฝ้าติดตามระหว่างระงับความรู้สึก และเป็นแนวทางเดียวกันสำหรับผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน ได้รับการระงับความรู้สึกแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะให้การระงับความรู้สึก ณ ที่ใด
Ο 2. มีการเฝ้าติดตามสภาวะทางสรีรวิทยาตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติ ขณะให้การระงับความรู้สึก
Ο 3. ผลลัพธ์ของการเฝ้าติดตาม ได้รับการบันทึกไว้ในแบบบันทึกการระงับความรู้สึกของผู้ป่วย


มาตรฐาน ASC.6.1 (ทำให้ชัดเจน)
มีการเฝ้าติดตามและบันทึกสภาวะของผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกแต่ละราย ผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายจากหน่วยพักฟื้นโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้ ℗

เจตนาของ ASC.6.1
การเฝ้าติดตามผู้ป่วยระหว่างที่ให้การระงับความรู้สึกเป็นพื้นฐานสำหรับการเฝ้าติดตามในช่วงพักฟื้นหลังการระงับความรู้สึก | การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสภาวะของผู้ป่วยในระยะพักฟื้นอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสู่ setting อื่นซึ่งมีระดับความเข้มข้นของการให้บริการน้อยกว่า | การบันทึกข้อมูลการเฝ้าติดตามเป็นเอกสารสนับสนุนการยุติการเฝ้าติดตามในช่วงพักฟื้นและตัดสินใจการจำหน่ายผู้ป่วย | มีการเฝ้าติดตามและบันทึกข้อมูลเมื่อผู้ป่วยได้ถูกโอนจากห้องผ่าตัดไปยังหน่วยรับผู้ป่วยเช่นเดียวกับการมีการบันทึกในห้องพักฟื้น
การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากบริเวณพักฟื้นหลังการระงับความรู้สึก สามารถทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้

a) ผู้ป่วยได้รับการจำหน่าย (หรือยุติการเฝ้าติดตามในช่วงพักฟื้น) โดยวิสัญญีแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมครบถ้วน หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยบริการวิสัญญี
b) ผู้ป่วยได้รับการจำหน่าย (หรือยุติการเฝ้าติดตามในช่วงพักฟื้น) โดยพยาบาล หรือบุคคลที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง ตามเกณฑ์หลังการระงับความรู้สึกที่กำหนดโดยผู้นำของโรงพยาบาล และบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยมีหลักฐานว่าเป็นไปตามเกณฑ์
c) ผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายไปยังหน่วยดูแลซึ่งมีความสามารถในการให้การดูแลหลังการระงับความรู้สึกหรือหลังการทำให้สงบสำหรับผู้ป่วยที่เลือกสรรไว้ เช่น หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท

มีการบันทึกเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงและเวลาที่จำหน่ายออกจากบริเวณพักฟื้น (หรือเวลาที่เริ่มพักฟื้นและเวลายุติการเฝ้าติดตามในช่วงพักฟื้น) ไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย (ดูที่ AOP.2)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.6.1
Ο 1.
ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าติดตามในระหว่างการพักฟื้นหลังการระงับความรู้สึก
Ο 2. มีการบันทึกข้อมูลการเฝ้าติดตามในเวชระเบียนผู้ป่วย
Ο 3. ผู้ป่วยถูกจำหน่ายจากหน่วยดูแลหลังการระงับความรู้สึก (หรือยุติการเฝ้าติดตามในช่วงพักฟื้น) ตามทางเลือกที่ระบุไว้ในข้อ a) ถึง c) ของหัวข้อเจตนา
Ο 4. มีการบันทึกเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงและเวลาที่จำหน่ายออกจากบริเวณพักฟื้นในเวชระเบียนผู้ป่วย


ASC – การจัดระบบและการจัดการ | การทำให้สงบ | การระงับความรู้สึก | การดูแลทางศัลยกรรม