มาตรฐาน GLD.4
ผู้นำองค์กรวางแผน พัฒนา และนำโปรแกรมพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยไปปฏิบัติ
มาตรฐาน GLD.4.1
ผู้นำองค์กรสื่อสารสารสนเทศการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยไปยังบุคลากร
เจตนาของ GLD.4 และ GLD.4.1
การนำและการวางแผนเป็นสิ่งจำเป็นหากองค์กรจะริเริ่มและคงไว้ซึ่งการพัฒนาและการลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยและบุคลากร | การนำและการวางแผนนี้มาจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ร่วมกับผู้ที่บริหารกิจกรรมด้านคลินิกและด้านบริหารจัดการขององค์กรในงานประจำวัน | ทั้งสองส่วนนี้ร่วมกันทำหน้าที่การนำของแผนกและหน่วยบริการในองค์กร | ผู้นำมีความรับผิดชอบในการก่อให้เกิดความมุ่งมั่นขององค์กรต่อคุณภาพ | ผู้นำจัดทำแผนคุณภาพและความปลอดภัย และเสริมสร้างวัฒนธรรมคุณภาพขององค์กรผ่านวิสัยทัศน์และการสนับสนุนของผู้นำ (ดูที่ QPS.1)
ผู้นำองค์กรเลือกวิธีการที่ใช้ในองค์กร เพื่อวัดผล ประเมิน และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย | นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรกำหนดโปรแกรมที่จะนำไปใช้และจัดการในแต่ละวัน เช่น แผนกคุณภาพ และมั่นใจว่าโปรแกรมมีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะมีประสิทธิภาพ
ผู้นำองค์กรนำโครงสร้างและกระบวนการในการตรวจสอบโดยรวมและประสานงานการใช้โปรแกรมทั่วทั้งองค์กร | การกระทำนี้เป็นการประสานงานในการวัดผลระหว่างทุกแผนก/หน่วยบริการและความพยายามในการพัฒนา | การประสานงานทำได้โดยคณะกรรมการจัดการคุณภาพ หรือโครงสร้างอื่น | การประสานงานกระตุ้นให้เกิดวิธีการอย่างมีระบบในกิจกรรมการตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพ ในขณะที่ลดความพยายามที่ซ้ำซ้อน เช่น การวัดผลอย่างเป็นอิสระของสองแผนกเพื่อวัดกระบวนการหรือผลลัพธ์ที่คล้ายกัน (ดูที่ QPS.2 และ PCI.10, ME 1)
ผู้นำองค์กรรับผิดชอบในการเห็นรายงานคุณภาพอย่างน้อยรายไตรมาส ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อการตรวจสอบและอภิปรายในการกำกับดูแลกิจการ และเพื่อให้เห็นการดำเนินการดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับรายงานโปรแกรมควบคุมคุณภาพ | นอกจากนี้รายงานคุณภาพรายไตรมาส หรืออย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกๆ หกเดือน รายงานคุณภาพในการกำกับดูแลกิจการ รวมถึง
- จำนวนและชนิดของอุบัติการณ์รุนแรงและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการแจ้งให้ทราบถึงเหตุการณ์หรือไม่
- การดำเนินการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ และ
- การปรับปรุงเป็นไปอย่างยั่งยืน
การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยกับบุคลากรอย่างสมํ่าเสมอเป็นสิ่งจำเป็น | การสื่อสารอย่างสมํ่าเสมอกระทำผ่านช่องทางที่ได้ผล เช่น จดหมายข่าว กระดานข่าว (storyboard) การประชุมบุคลากร และกระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล | สารสนเทศที่สื่อสารอาจจะเป็นโครงการพัฒนาที่เริ่มใหม่หรือโครงการที่เพิ่งเสร็จสิ้น ความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล ผลการวิเคราะห์อุบัติการณ์รุนแรง และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ โปรแกรมวิจัยหรือวัดระดับเทียบเคียงล่าสุด และอื่นๆ
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.4
Ο 1. ผู้นำองค์กรมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสำหรับโปรแกรมพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย
Ο 2. ผู้นำองค์กรเลือกวิธีการที่ใช้ในองค์กร เพื่อวัดผล ประเมิน และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย และให้การศึกษากระบวนการปรับปรุงคุณภาพแก่บุคลากร
Ο 3. ผู้นำองค์กรกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้และจัดการโปรแกรมในแต่ละวัน และมั่นใจว่าโปรแกรมมีเทคโนโลยีและทรัพยากรอื่นที่มีประสิทธิภาพ
Ο 4. ผู้นำระบุการประสานงานระหว่างองค์ประกอบทั้งหมดของกิจกรรมการวัดและควบคุมคุณภาพขององค์กร
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.4.1
Ο 1. ผู้นำองค์กรรายงานโปรแกรมพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นรายไตรมาสในการกำกับดูแลกิจการ
Ο 2. รายงานในการกำกับดูแลกิจการรวมถึง จำนวนและชนิดของอุบัติการณ์รุนแรงและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการแจ้งให้ทราบถึงเหตุการณ์หรือไม่ การดำเนินการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ และการปรับปรุงเป็นไปอย่างยั่งยืน อย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกๆ หกเดือน (ดูที่ QPS.7)
Ο 3. สารสนเทศเกี่ยวกับโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยได้รับการสื่อสารไปยังบุคลากร รวมถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล
มาตรฐาน GLD.5
ผู้นำจัดลำดับความสำคัญสำหรับกระบวนการที่ควรวัดผล และกิจกรรมการพัฒนาและความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ควรดำเนินการ และระบุตัวชี้วัดสำคัญเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
เจตนาของ GLD.5
เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มีข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลเพื่อวัดทุกประเด็นที่ต้องการได้ | ดังนั้น ผู้นำองค์กรจะต้องเลือกลำดับความสำคัญของการวัดผลกระบวนการและการปรับปรุงในระดับองค์กร | ความพยายามในการวัดผลกระบวนการและการปรับปรุงมีผลกระทบต่อกิจกรรมในหลายแผนก/หน่วยบริการ |ผู้นำเน้นการวัดคุณภาพและกิจกรรมการปรับปรุง รวมทั้งการวัดผลและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล | ลำดับความสำคัญอาจมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เช่น การกลายเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งในระดับภูมิภาค | ในทำนองเดียวกัน ผู้นำอาจจัดลำดับความสำคัญกับโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพ ลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำ ขจัดปัญหาการไหลของผู้ป่วยในแผนกฉุกเฉิน หรือสร้างกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของการให้บริการโดยการทำสัญญาจ้าง | ผู้นำองค์กรพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญเป็นระบบเพื่อเผยแพร่ผลกระทบอย่างกว้างขวางทั่วทั้งองค์กร เช่น การปรับปรุงระบบจัดการยาขององค์กร | กระบวนการจัดลำดับความสำคัญรวมถึง การใช้ข้อมูลที่มีอยู่ ที่ระบบและกระบวนการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในการนำไปใช้และผลลัพธ์ | ผู้นำมั่นใจว่าการวิจัยทางคลินิกและการศึกษาทางการแพทย์อยู่ในลำดับความสำคัญ ถ้ามี
นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรต้องประเมินผลกระทบของการปรับปรุง | ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงการวัดประสิทธิภาพของกระบวนการทางคลินิกที่ซับซ้อน และ/หรือการระบุการลดค่าใช้จ่ายและทรัพยากรเพื่อปรับปรุงกระบวนการ | การวัดผลกระทบของการปรับปรุงทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายในการลงทุนเกี่ยวกับคุณภาพและทรัพยากรมนุษย์ การเงิน และผลตอบแทนอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุน | ผู้นำองค์กรสนับสนุนการสร้างเครื่องมืออย่างง่ายเพื่อหาจำนวนการใช้ทรัพยากรของกระบวนการเก่าและการประเมินกระบวนการใหม่ | ความเข้าใจของทั้งผลกระทบของการปรับปรุงเกี่ยวกับผลของผู้ป่วย และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและส่งผลเกิดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการจัดตั้งลำดับความสำคัญที่ดีขึ้นในอนาคต ทั้งระดับองค์กรและระดับแผนก/หน่วยบริการ | เมื่อข้อมูลรวมกันในระดับองค์กร ผู้นำองค์กรสามารถเข้าใจวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ดีขึ้น (ดูที่ QPS.2, QPS.4.1, PCI.6, PCI.6.1 และ GLD.11)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ GLD.5
Ο 1. ผู้นำองค์กรใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในการจัดลำดับความสำคัญโดยรวม สำหรับกิจกรรมการวัดผลและพัฒนาในระดับองค์กร และพิจารณาการพัฒนาระบบที่อาจเกิดขึ้น
Ο 2. ผู้นำองค์กรมั่นใจว่า การวิจัยทางคลินิกและการศึกษาทางการแพทย์อยู่ในลำดับความสำคัญ ถ้ามี
Ο 3. ผู้นำองค์กรกำหนดลำดับความสำคัญรวมถึงการนำเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากลไปสู่การปฏิบัติ
Ο 4. ผู้นำองค์กรประเมินผลกระทบในระดับองค์กรและการพัฒนาในระดับแผนก/หน่วยบริการสำหรับประสิทธิภาพและการใช้ทรัพยากร (ดูที่ QPS.5)
GLD – ผู้กำกับดูแลกิจการขององค์กร | ความรับผิดชอบของผู้บริหาร | ความรับผิดชอบของผู้นำองค์กร | การบริหารองค์กรสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย | การบริหารองค์กรสำหรับสัญญาจ้าง | การบริหารองค์กรสำหรับการจัดทรัพยากร | การจัดการและความรับผิดชอบของบุคลากรทางคลินิก | ทิศทางของแผนกและหน่วยบริการในองค์กร | จริยธรรมองค์กรและคลินิก | การศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพและมนุษย์ | การวิจัยในสาขาวิชาเกี่ยวกับมนุษย์